Effects of Organizational Climate and Communication Process on the Internal Communication Effectiveness of Support University Staffs at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย นพวรรณ โลนุช

ปี 2565


บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ และปัจจัยด้านกระบวนการสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การ ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 454 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารที่ตรงประเด็น รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารทันต่อเวลาและสถานการณ์ และด้านการสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ปัจจัยบรรยากาศองค์การและปัจจัยกระบวนการสื่อสาร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ABSTRACT

The purpose of this independent study was to investigate the effects of personal factors, organizational climate, and organizational communication process on the internal communication effectiveness of support university staffs at Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT).

The population sampled in this study were 454 support university staffs at RMUTT. The instrument used to collect data was a questionnaire. The statistics used to analyze data were descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation; and inferential statistics for hypothesis testing: independent sample t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis at a statistically significant level of .05.

The study results revealed that the overall internal communication effectiveness and its individual aspects were at a high level. The aspects of internal communication effectiveness that scored the highest mean was relevant communication, followed by timely and situational communication, then information reliability, respectively. Difference in the personal factors of education level affected the internal communication effectiveness of support university staffs at a statistically significant level of .05. Moreover, it was found that organizational climate, and organizational communication process both influenced the internal communication effectiveness of support university staffs at RMUTT at a statistically significant level of .05.


Download: Effects of Organizational Climate and Communication Process on the Internal Communication Effectiveness of Support University Staffs at Rajamangala University of Technology Thanyaburi