The Use of Overtime Services at Office of Academic Resource and Information Technology of Undergraduate Students at Rajamangala  University of Technology Thanyaburi

โดย ธัญลักษณ์  แซ่โง้ว

ปี 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้และปัญหาการใช้บริการล่วงเวลาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 394 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ T-test และ F-test (One-way Analysis of Varience) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการล่วงเวลาฯ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์งานหรือทำรายงาน (ร้อยละ35) โดยผู้ที่มีอิทธิในการตัดสินใจใช้บริการล่วงเวลาคือตนเอง (ร้อยละ 69 ) มีความถี่ในการใช้บริการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ร้อยละ30.2 ) ส่วนช่วงเวลาในการใช้บริการคือเมื่อมีเวลาว่าง (ร้อยละ 36.9) และระยะเวลาที่ใช้คือ 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง (ร้อยละ 34.7) บริเวณที่ใช้คือพื้นที่ชั้น 3 (ร้อยละ 39.6) มีวิธีการเข้าถึงทรัพยากรจากการสืบค้นจากระบบ Opac และฐานข้อมูล (ร้อยละ 41.4) ซึ่งบริการล่วงเวลาที่ใช้ คือบริการห้อง Discussion (ร้อยละ 42.4) ส่วนปัญหาการใช้บริการล่วงเวลาในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับน้อย ( x̄=2.40) ในรายด้านพบว่าด้านปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการให้บริการ( x̄=2.57) ผลการเปรียบเทียบการใช้บริการล่วงเวลาที่มีเพศและหลักสูตรต่างกันมีปัญหาการใช้บริการล่วงเวลาฯไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาต่างกันพบว่ามีปัญหาการใช้บริการล่วงเวลาแตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกันทุกด้าน

Download :  The Use of Overtime Services at Office of Academic Resource and Information Technology of Undergraduate Students at Rajamangala  University of Technology Thanyaburi