The Satisfaction of Employee to System Application and Product in Data Processing (SAP) – Case Study of The Provincial Electricity Authority : Zone 1 (Central Area)

โดย วสันต์ เรือนทอง

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง) ต่อระบบ System Application and Product in Data Processing (SAP) โดยทดสอบลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านกลยุทธ์ขององค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ด้านการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร และ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะความสามารถ (Competency) กับความพึงพอใจของพนักงานต่อระบบ SAP กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 376 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะพนักงานที่ใช้งานระบบ SAP เท่านั้น ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการ Independent t-test, One-Way ANOVA และ Multiple Regression ประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41 ปีขึ้นไป อายุงาน 5-10 ปี มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. ตำแหน่งพนักงานช่าง/พนักงานบัญชี ระดับตำแหน่ง 4-6 และส่วนใหญ่ปฏิบัติงานระบบบริหารงานโครงการ(PS) การวิเคราะห์ผลพนักงานมีทักษะในการปฏิบัติงานระบบ SAP และมีความรู้เกี่ยวกับระบบSAP อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนทัศนคติที่ดีต่อระบบ SAP อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของพนักงานต่อระบบ SAP ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลักษณะทางประชากรศาสตร์ อายุ ระดับการศึกษาตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง แผนก และระบบงาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจต่อระบบ SAPแตกต่างกัน สมรรถนะความสามารถ (Competency) ทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านทักษะ(X[subscript1]) ด้านความรู้(X[subscript2]) และด้านทัศนคติ (X[subscript3]) มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของพนักงานต่อระบบ SAP โดยสมรรถนะความสามารถด้านทัศนคติมีผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีสมการทำนายความสัมพันธ์คือ Ŷ = 1.305 + 0.183X1 + 0.182X2 + 0.332X3

DOWNLOAD : The Satisfaction of Employee to System Application and Product in Data Processing (SAP) – Case Study of The Provincial Electricity Authority : Zone 1 (Central Area)