Teamwork of the school administrators under Chonburi primary educational service area office

โดย พัสวีพิชญ์ ศิลาสุวรรณ

ปี 2562


บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี จำนวน 360 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี พบว่า ด้านการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางในการบริหารจัดการโดยการประชุมครูประจาทุกๆ เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษา และครูได้ชี้แจงรายละเอียด ข้อสงสัยซึ่งกันและกันโดยใช้ภาษาที่ชัดเจน หรือครูสามารถสอบถามได้โดยตรงผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร เช่น ผู้บริหารสถานศึกษามีลักษณะนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นกันเอง และสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสาร แอปพลิเคชัน ไลน์ เฟสบุ๊ค มาปรับใช้ ในด้านความร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางในการบริหารจัดการโดยการบริหารโรงเรียนควรเป็นการบริหารจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้ครูมีแนวคิดที่หลายหลากและมีอำนาจในการตัดสินใจในการทำงาน ให้คาปรึกษาเป็นรายบุคคล ด้านการประสานงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางในการบริหารจัดการโดยผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการประสานงานเป็นลำดับขั้นระหว่างหน่วยงาน ลำดับขั้นผู้บังคับบัญชา มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา มีความหมายในเนื้อหาภาษาที่ใช้ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสทางความคิด ไม่วางกรอบความคิดให้การทำงานอึดอัดจนเกินไป ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรสังเกตพฤติกรรม และเรียนรู้ลักษณะนิสัยของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อการเลือกปัญหาและระบุปัญหาให้ชัดเจน วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุค้นหารากสาเหตุที่แท้จริงที่ครูเผชิญ


Abstract

The research on teamwork of the school administrators under Chonburi Primary Educational Service Area Office aimed 1) to study the teamwork of the school administrators under Chonburi Primary Educational Service Area Office, and 2) to study the teamwork guidelines of the school administrators under Chonburi Primary Educational Service Area Office.

The sample who answered this questionnaire consisted of 360 teachers working in the Chonburi Primary Educational Service Area Office. The key informants for the in-dept interview were composed of 6 school administrators. The instruments employed 5-rating scale questionnaire and interview form. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The major finding revealed that 1) the teamwork of the school administrators under Chonburi Primary Educational Service Area Office was at a high level. 2) The teamwork guidelines of communication of the school administrators under Chonburi Primary Educational Service Area Office, the school administrators have guidelines for management by arranging the teachers meeting every month to give the opportunity for school administrators to explain details of each other’s doubts with clear language. Teachers could make inquiries directly through all communication channels, such as via personality, technology, collaboration. School administrators have guidelines for management by considering that the school administration should be a management from many departments, so that the teachers have various concepts with power to make decision in working and individualized consultation. As for coordination, the school administrators have guidelines for management that the school executives should give priority to the hierarchal coordination between departments. The supervisor’s hierarchy was clear and straightforward with meaning in the used language content. In the field of creativity, school administrators provided ideas without too uncomfortable frame to work. As for the continuous improvement, school administrators should observe behavior and learn the characteristics of subordinates to select the problem and specify the problem clearly, to analyze problems and causes, and to find root causes that the teachers confronted.


Download : การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี