The Tourism Industry Strategies for Community Economy Development in The Andaman Triangle (Phuket, Phangnga, Krabi Province)

โดย ทักษิณ ปิลวาสน์, บุญทัน ดอกไธสง, สะอาด บรรเจิดฤทธิ์ และ ชาญชย จิตรเหล่าอาพร

ปี 2556

วารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2556

บทคัดย่อ

ข้อค้นพบจากการวิจัยมี ดังนี้ 1) ภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของประเทศไทย ยังไม่สามารถบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การเป็นหุ้นส่วนเชิงบูรณาการการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน พบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวในการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนยังไม่เป็นรูปธรรม ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง 3) การบูรณาการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามันระหว่างองค์กรระดับระหว่างประเทศ ระดับประเทศ และระดับจังหวัด พบว่าขาดการวางแผนร่วมกันเชิงยุทธศาสตร์ องค์การทั้งสามระดับ ยังขาดการประสานยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการร่วมกัน ทั้งระดับประเทศกับระดับจังหวัดหรือท้องถิ่น 4) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน พบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยมีจุดมุ่งหมายที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม และส่งเสริมความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่าความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในแหล่งท่องเที่ยว จึงควรสนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เป็นชุมชนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน

Download : ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่)