Service Quality of e-Market Place Service via an Electronic Auction: A Case Study of Intelligent Solution & Service Co., Ltd.

โดย นภาพร สุวรรณวร

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการตลาดกลางประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) : กรณีศึกษา บริษัท อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ พนักงานปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง/กองคลังและพนักงานองค์การเอกชนที่ใช้บริการผ่านตลาดกลางประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ค่าที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างแต่ละกลุ่มด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษาพบว่าหน่วยงานที่ใช้บริการตลาดกลางประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นองค์การบริการส่วนตำบล การประมูลแบบเปิดราคา ส่วนใหญ่ใช้บริการประมูลงานก่อสร้างโดยมีงบประมาณ 2,000,001 – 10,000,000 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้ต่อการบริการสูงกว่าความคาดหวังก่อนได้รับบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความมั่นใจแก่ลูกค้าและด้านความเห็นอกเห็นใจ

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการตลาดกลางกลางประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความมั่นใจ แก่ลูกค้าและด้านความเห็นอกเป็นใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The purpose of the independent study was to study the service quality of e-Market place service via an electronic auction: a case study of Intelligent Solution & Service Co., Ltd. The samples consisted of 300 participants including operators, procurement officer/treasury and employees of private organization who used e-Market Place service via an electronic auction. Statistical analysis used Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA and Least Significant Difference (LSD).

The result found that most of organizations used e-Market Place service via an electronic auction is the subdistrict administrative organization (SAO) which use open bid auction for construction bidding with 2,000,001-10,000,000 baht of the budget. The participants had service perceptions higher than their expectation in tangibles, reliability, responsiveness, assurance, and empathy.

The hypothesis testing results found that the service users have a different level of education commented to the service quality of e-Market place via an electronic auction in tangibles, reliability, responsiveness, assurance, and empathy were significant difference (p<0.05).

Download : คุณภาพการบริการตลาดกลางประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) : กรณีศึกษา บริษัท อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด