Research and Development of a Cashew Nut Shell Liquid Expeller

โดย คมสันติ เม่ากลาง จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ และ ชัยรัตน์ หงส์ทอง

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยและพัฒนาเครื่องบีบอัดน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบใช้เกลียวอัด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องบีบอัดน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบใช้เกลียวอัดให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น โดยทำการศึกษากระบอกอัด 2 ลักษณะ ได้แก่ กระบอกอัดแบบแหวนและกระบอกอัดแบบตามยาว เกลียวอัด 4 ลักษณะ ได้แก่ เกลียวอัดระยะพิตซ์ 71 มิลลิเมตร ยาวตลอดเกลียว มุมเตปเปอร์แกนเกลียว 0.98 องศา, เกลียวอัดระยะพิตซ์ 65 มิลลิเมตร ยาว 430 มิลลิเมตร จากโคนเกลียวและระยะพิตซ์ 40 มิลลิเมตร ยาว 370 มิลลิเมตร ถึงปลายเกลียว มุมเตปเปอร์แกนเกลียว 1.25 องศา, เกลียวอัดระยะพิตซ์ 65 มิลลิเมตร ยาวตลอดเกลียว มุมเตปเปอร์แกนเกลียว 1.25 องศา และเกลียวอัดระยะพิตซ์ 65 มิลลิเมตรยาว 430 มิลลิเมตร จากโคนเกลียว และระยะพิตซ์ 40 มิลลิเมตร ยาว 370 มิลลิเมตร ถึงปลายเกลียวมุมเตปเปอร์แกนเกลียว 0.98 องศา จากการทดสอบสมรรถนะในการทำงานพบว่าเครื่องบีบอัดฯ มีสมรรถนะในการบีบอัดน้ำมัน CNSL สูงสุดที่ความเร็วรอบเกลียวอัด 40 รอบ/นาที ใช้เกลียวอัดระยะพิตซ์ 71 มิลลิเมตร ยาวตลอดเกลียวมุมเตปเปอร์แกนเกลียว 0.98 องศา ใช้กระบอกอัดแบบ ตามยาว ซึ่งสามารถบีบอัดน้ำมัน CNSL ได้ในอัตรา 26.32 กิโลกรัม/ชั่วโมง เปอร์เซ็นต์ CNSL ที่สกัดได้ 25.98 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเปลือก น้ำมันCNSL ที่เหลือในกาก 9.80 เปอร์เซ็นต์ และมีระยะเวลาคืนทุน 0.58 ปี (7 เดือน) หรือมีจุดคุ้มทุน 3,655.5 กิโลกรัม/ปี

 

Download