Efficiency of Intranet System: A Case Study of National Science Museum

โดย พัชราวรรณ บุญแสน

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานระบบอินทราเน็ตและศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบอินทราเน็ตขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงาน ในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ จำนวน 121 ตัวอย่าง ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบ สมมุติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test และทดสอบสมมติฐานความแปรปรวนโดยใช้ One-Way ANOVA ซึ่งถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็ นรายคู่ โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 26 – 30 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งงานระดับผู้ปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน (อายุงาน) อยู่ที่ 4 – 5 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้งานระบบอินทราเน็ตมากกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์ อยู่ในช่วงเวลา 09.00 น. – 12.00 น. ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานด้านประชากรศาสตร์พบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่แตกต่างกันในด้านความสมบูรณ์ และด้านเวลา ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานด้านพฤติกรรม พบว่าความถี่ในการใช้งานที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่แตกต่างกันในด้านความถูกต้อง ด้านความสมบูรณ์ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านเวลาและด้านความปลอดภัย

The purpose of this independent study was to study the efficiency of intranet system and the demographic factors affecting the efficiency of intranet system of National Science Museum.

The samples consisted of 121 participants who were staffs of National Science Museum, and the questionnaire was used as an instrument for data collection. Descriptive statistics used for explaining the general information included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Inferential statistics used for hypothesis testing included the Independent Sample t-test and One-Way ANOVA. If there were differences, Least Significant Difference (LSD) would be applied by using the statistical software for data processing and analysis.

The results of the independent study revealed that the majority of the participants were female with an average age ranging from 26 to 30 years old. Besides, most of them obtained Bachelor’s degree and had job positions in operational level with age of work ranging from 4 to 5 years. Most of these participants used the intranet system for more than 6 times per week and the access time was between 09.00 a.m. to 12.00 p.m. According to the hypothesis testing in terms of demographics, the result showed that different genders, ages, and levels of education affected the efficiency of intranet system differently in terms of completeness, and time-consuming. Regarding the hypothesis testing based on behaviors, it showed that different frequencies of use affected the efficiency of intranet system differently in terms of accuracy, completeness, reliability, timeconsuming, and safety.

Download : ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบอินทราเน็ต : กรณีศึกษา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ