The Efficiency of Registration System of Undergraduate Level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย พัชราภรณ์ ตัณฑพาทย์

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 413 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การทดสอบ Independent Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way Analysis of Variance (One-Way ANOVA) ถ้าพบ ความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่าง เป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 – 21 ปี ศึกษาอยู่คณะบริหารธุรกิจและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปี ที่ 1 มีรายได้ 5,001-10,000 บาท ใช้เวลาใน ระบบทะเบียน 5-10 นาที ใช้ระบบในช่วงเวลา 9.01-12.00 น. ใช้ระบบ 5 – 6 ครั้ง ใน 1 ภาคการศึกษาเมนูที่ใช้งานบ่อยคือเมนูตารางเรียน/สอบ ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนนักศึกษา มทร.ธัญบุรีพบว่ามีประสิทธิภาพในระดับมากในทุกด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านความปลอดภัย ด้านความสอดคล้องกับข้อกำหนด การทดสอบสมมติฐานพบลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านหน้าที่ของระบบทะเบียนนักศึกษามทร.ธัญบุรีแตกต่างกัน พบว่า อายุที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมแตกต่างกัน คณะที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม ด้านความปลอดภัย และด้านความสอดคล้องกับข้อกำหนดแตกต่างกัน รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมแตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้ที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านหน้าที่ของระบบทะเบียนนักศึกษา มทร.ธัญบุรีแตกต่างกัน พบว่า ระยะเวลาในการใช้งานระบบทะเบียนที่แตกต่างกัน

ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องแตกต่างกัน ช่วงเวลาที่ใช้งานบ่อยที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมแตกต่างกัน สถานที่ใช้งานระบบที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมแตกต่างกันความถี่ในการใช้งานระบบทะเบียนที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความสอดคล้องกับข้อกำหนดแตกต่างกัน เมนูที่ใช้งานบ่อยที่แตกต่างกันส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม และด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน

The independent study was carried out to determine the effects of demographic characteristics on functional performances of the registration system at RMUTT. The sample consisted of 413 participants who were undergraduate students, selected by using convenience sampling. The questionnaire was used as research instrument while statistics used for data analysis included Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation. Data processing and analysis was done by using SPSS software. First, the Independent Samples t-test was used to test the difference between two independent groups. One-Way ANOVA was also used to determine whether there were any significant differences between the means of the three or more independent groups. Finally, Least Significant Difference (LSD) was used to determine the minimum difference between any two means.

The results of the independent study showed that the majority of the participants were male, aged between 20 and 21 years who were freshmen in Faculty of Business Administration and Faculty of Engineering and had monthly income between 5,001 to 10,000 Bath. Moreover, they normally did login to the registration system from their places for five to ten minutes each time, and an average access time was usually during 9.01 a.m. – 12.00 p.m. They also used the registration system for five to six times per semester in average while the most frequently used menu were class/exam schedules. Regarding functional performances of the registration system at RMUTT, the results indicated that the functional performances including appropriateness, accuracy, cooperation, security, and compliance were high in every aspect. According to hypothesis testing, it indicated that different demographic characteristics resulted in different functional performances of the registration system. First of all, different ages, monthly incomes, places, and frequently access times resulted in different appropriateness. Different faculties also resulted in different appropriateness, security, and compliance. In addition, different using behaviors of the system revealed different functional performances. Furthermore, different using times resulted in different appropriateness and accuracy. Different frequencies of use also resulted in different compliance. Finally, different frequently used menu indicated different appropriateness and security.

Download : ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี