Motivation Affecting the Performance of Geographic Information Systems of Provincial Electricity Authority, Northern Area 3 Lop Buri Province

โดย ทศพร ทรงเกียรติ

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านภูมิสารสนเทศ ของพนักงานการไฟฟ้ าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระในครั้งนี้เป็นพนักงานทีทำงานด้านภูมิสารสนเทศของการไฟฟ้ าส่วนภูมิภาคเขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรี และการไฟฟ้ าในสังกัด จำนวน 132 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test One-Way ANOVA และการทดสอบรายคู่โดยวิธี Least-Significant Different (LSD) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีแรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน และด้านความรับผิดชอบในงาน อยู่ในระดับมาก มีแรงจูงใจด้านความก้าวหน้า อยู่ในระดับปานกลาง มีประสิทธิภาพด้านคุณภาพ ด้านเวลา และด้านวิธีการ อยู่ในระดับมาก มีประสิทธิภาพด้านปริมาณ และด้านค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน กับประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้น แรงจูงใจด้านความรับผิดชอบในงานกับประสิทธิภาพในการทำงานด้านค่าใช้จ่าย ไม่มีความสัมพันธ์กัน

ผลสรุป งานด้านภูมิสารสนเทศต้องอาศัยแรงจูงใจในด้านต่างๆ แรงจูงใจที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพในการทำงานด้านภูมิสารสนเทศ

This independent study had the purpose to study about motivation affecting the performance of geographic information systems of provincial electricity authority, northern area 3 Lop Buri province. The sample group applied in this research comprised 132 employees working in the geographic information systems of provincial electricity authority, northern area 3 Lop Buri province and under. The tools used for collection of data were questionnaire. The statistic tools for analysis of data were Percentage, Mean, Standard Deviation. Inferential statistics used were Independent Sample t-test, One-Way ANOVA, Least-Significant Different (LSD) and Correlation.

Result of the study found that motivation factors for achievement, recognition, interesting work, responsibility and responsibility were at high level and advancement was at medium level. The performance for quality, time and method were at high level and the quantity and costs were at medium level. The analysis of relations by suing simple correlation between motivation and performance found that relation with same direction except motivation factors of achievement and performance of cots were no relationship.

In conclusion of geographic information systems depends on motivation factors in pass of article that important for efficacy of geographic information systems.

Download : แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านภูมิสารสนเทศของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรี