Motivation Affecting Research Performing Behavior Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย คณธวัลย์ ศุภรัตนาภิรักษ์

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำวิจัย รวมถึงศึกษาพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 300 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-Way ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และ Multiple Linear Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการค้นคว้าอิสระ พบว่า เพศ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา ประเภทบุคลากรและหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกันมีผลต่อการทำวิจัยแตกต่างกัน ปัจจัยแรงจูงใจในการวิจัย มีผลต่อพฤติกรรมการทำวิจัย ผลการวิเคราะห์แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำวิจัย พบว่า ความรู้ ความสามารถในการทำวิจัยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากร ในทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.574 ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 32 และสร้างสมการพยากรณ์ พฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากร ได้ดังนี้ ( [subscript t]) = 0.798 + 0.434Z[subscript1]

The purposes of this independent study were to explore personal factors and motivation factors that affected research performing, and to explore behavior of research performing in Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

The sample group in this study was 300 academic staffs and supporting staffs from Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Questionnaires were used to collect data using stratified random sampling method. The statistics used to analyze data were description statistics including Frequency, Percentage, Mean, and standard Deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, LSD, and Linear Multiple Regression equation at the statistically significant level 0.05.

The analysis results revealed that the difference of gender, period of time working, educational level, staff type, and working unit affected different research performing. Research motivation factors affected research performing behavior. The analysis of motivation factors that influenced research performing behavior found that the ability to perform research influenced the research performing in the positive direction. The multiple correlation coefficient (R) was 0.574 with 32 percent of ability to predict and formed the forecasting equation as follows: ( [subscript t]) = 0.798+0.434X[subscript1].

Download : แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี