Factors Affecting Satisfaction in Applied E-Learning in Thailand High Schools in Nonthaburi Province

โดย เชาวลักษณ์ ชาวงษ์

ปี     2549

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานระบบe-Learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 327 ตัวอย่าง ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง ใช้ค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ผลจากการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และมีอายุการทำงาน (ประสบการณ์การสอน) ตั้งแต่ 6 ถึง 10 ปีข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ สรุปผล ได้ดังนี้

จากการศึกษา ทำให้พบว่า การจะพัฒนาระบบ e-Learning ของสถานศึกษานั้นค่อนข้างยากที่จะดำเนินการให้เป็นการเรียนการสอนที่ครบถ้วนไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมดเนื่องมาจากปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ โครงสร้างพื้นฐาน

ปัจจัยแรกที่จะส่งผลให้การดำเนินการระบบ e-Learning ประสบความสำเร็จนั้นมาจากตัวผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องมีวิสัยทัศน์เปิดกว้าง มีเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและการให้ความสนับสนุนต่าง ๆ กับตัวบุคลากรเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำบทเรียนบนอินเตอร์เน็ตจะทำให้บทเรียนมีความสมบูรณ์ และมีการพัฒนาบทเรียนใหม่ ๆ อยู่เสมอ

ทั้งนี้สถานศึกษาควรจะพัฒนาการเรียนทั้งในรูปแบบปกติและการเรียนในระบบe-Learning ควบคู่กันไป มีการวางแผนเพื่อใช้จุดดีของการเรียนทั้งสองแบบให้เกื้อกูลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

DOWNLOAD