The Development of Ironing Board for Knitwear Productivity Efficiency

โดย ประนอม ลมมูลตรี, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม และสุภา จุฬคุปต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการรีดเสื้อผ้าถักและเปรียบเทียบประสิทธิภาพอุปกรณ์รองรีดระหว่างอุปกรณ์รองรีดแบบไม้กระดานกับอุปกรณ์รองรีดแบบโครง-สแตนเลส กลุ่มทดลองเป็นพนักงานรีดของบริษัท ไฮ-โพรเกรส นิตติ้ง จากัด จานวน 5 คน ทดลองการรีดเสื้อผ้าถักจากด้าย 3 ชนิดคือ ฝ้าย 100% ด้ายผสมระหว่าง ฝ้าย 60% อะคริลิค 40% และด้ายอะคริลิค 100% จากแบบเสื้อ 2 รูปแบบคือ แบบธรรมดาและแบบแฟชั่น ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์รองรีดแบบใหม่ด้วยโครงสแตนเลสที่ปรับขยายขนาดได้ศึกษาเวลามาตรฐานด้วยนาฬิกา เปรียบเทียบประสิทธิภาพอุปกรณ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าความแปรปรวน Pair T-Test.

ผลการทดลองพบว่า กระบวนการรีดของเสื้อผ้าถักจากด้ายฝ้าย 100% มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเสื้อผ้าถักมากที่สุดคือ +4% ในแนวตั้งและ +3.4% ในแนวนอน เสื้อผ้าถักจากด้ายผสม ฝ้าย 60% อะคริลิค 40% มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตัว +2.4% ในแนวตั้งและ +2.9% ในแนวนอน และเสื้อผ้าถักจากด้ายอะคริลิค 100% มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตัว +2% ในแนวตั้งและ +3.9% ในแนวนอน และหลังการรีดมีการวัดค่าการเปลี่ยนระดับสีของผ้าทั้ง 3 ชนิด พบว่ามีค่าของสีอยู่ในระดับ 5 หมายถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี อุปกรณ์รองรีดแบบโครงสแตนเลสปรับขยายสามารถลดขั้นตอนการทางานของเสื้อผ้าถักแบบธรรมดาร้อยละ 34.4 และลดเวลาการรีดร้อยละ 28 ส่วนเสื้อผ้าถักแบบแฟชั่นขั้นตอนการทางานลดลงร้อยละ 28.3 และเวลาการรีดลดลงร้อยละ 29.3 จากการเปรียบเทียบต้นทุนการรีดพบว่า ค่าแรงในการรีดเสื้อผ้าถักแบบธรรมดาลดลงร้อยละ 28 และค่าแรงการรีดเสื้อผ้าถักแบบแฟชั่นลดลงร้อยละ 30

Download : The Development of Ironing Board for Knitwear Productivity Efficiency