The Instruction of Pattern Making Technology in PathumThani Garment Manufacturing

โดย ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม, สาคร ชลสาคร และกิติยาพรรณ โพธิ์ล่าม

ปี 2550

บทคัดย่อ

การสำรวจความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมพบว่า ทั้งหมดมีความรู้ในการทำแม่แบบเสื้อน้อย แต่สามารถดัดแปลงแบบตัดได้ดี ไม่มีความรู้ขนาดตัวมาตรฐานนานาชาติ ลักษณะพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมพบว่า เป็นเพศหญิง (80 %) ครึ่งหนึ่งมีอายุ 40-50ปี มากกว่าครึ่ง (60 %) มีระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและไม่มีผู้จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทและ 50,000 บาทเท่ากัน (30 %) เกือบครึ่ง (40 %) มีประสบการณ์ 25 ปี และ ประสบการณ์ 10 ปี (10 %) การเปรียบเทียบความรู้การทำแบบตัดก่อน และหลังการอบรมพบว่า การทำแม่เสื้อ กระโปรง กางเกง และการทำแบบตัดปกเท่ากันคือ 2.14 : 4.11 % การดัดแปลงแบบตัดกระโปรง และกางเกงเท่ากันคือ 2.14:4.28 % การทำแบบตัดกระเป๋าคือ 1.97: 4.11 % ขนาดตัวมาตรฐานคนไทยคือ1.97 : 4.28 % ขนาดตัวมาตรฐานนานาชาติ และอุปกรณ์การทาแบบตัดเท่ากันคือ 1.81: 3.95 % การขยายแบบด้วยมือคือ 1.81 : 6.91 % การวางแบบตัดด้วยมือคือ 2.14 : 4.77 % การทาแบบตัด การขยายแบบตัด และการวางแบบตัดด้วยคอมฯเท่ากันคือ 2.30 :3.95 % การทดสอบสมมุติฐานพบว่า มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรมเฉลี่ย 25.31 : 12.69 และ มีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .000

Download : The Instruction of Pattern Making Technology in PathumThani Garment Manufacturing