Microstructure and Tensile Strength of AA 6063 Aluminum and AISI 430 Stainless Steel by Friction Stir Welding Various Stirrer Shape

โดย ศักดิ์ชัย  จันทศรี

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

กระบวนการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน สามารถทำการเชื่อมอะลูมิเนียมเข้ากับเหล็กกล้าไร้สนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือให้ความร้อนต่ำกว่าจุดหลอมละลาย ที่เกิดจากการเสียดสีกันระหว่างผิวแกนหมุนกับเนื้อวัสดุในสภาพพลาสติก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประยุกต์การเชื่อมรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 430และทำการทดสอบความแข็งแรงดึง ที่เชื่อมด้วยตัวกวนรูปร่างต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานเชื่อม

ในการทดลองใช้ตัวแปรในการเชื่อมได้แก่ตัวกวนรูปร่าง ทรงกระบอก ทรงกระบอกเกลียว ทรงกรวย และทรงกรวยเกลียว ความเร็วรอบตัวกวน 250-750 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม      50-175 มม./นาที หลังจากนั้นนำชิ้นงานเชื่อมไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงดึง ตรวจสอบโครงสร้าง    มหภาคและโครงสร้างจุลภาคของแนวเชื่อม ตามลำดับ

ผลการทดลองพบว่า ค่าความแข็งแรงดึงสูงสุดคือ 126.33 MPa ความเร็วรอบ 500 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 125 มม./นาที ด้วยตัวกวนรูปทรงกรวยเกลียว ผิวหน้าแนวเชื่อมมีความเรียบผิวสม่ำเสมอ แนวเชื่อมมีขนาดเท่ากัน ไม่พบจุดบกพร่อง การตรวจสอบโครงสร้างมหภาครอยฉีกขาดมีลักษณะคล้ายเส้นซิกแซกค่อนไปทางอะลูมิเนียม และโครงสร้างจุลภาคพบว่าเนื้อของเหล็กกล้าไร้สนิม แทรกตัวอยู่ในเนื้ออะลูมิเนียมบริเวณอินเทอร์เฟส ค่อนข้างมากที่ด้านล่างของแนวเชื่อม และทำการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีพบว่า FeAl ซึ่งเป็นสารประกอบกึ่งโลหะอยู่บริเวณอินเทอร์เฟสฝั่งอะลูมิเนียม ซึ่งมีความสอดคล้องกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้รอยเชื่อมมีค่าความแข็งแรงดึงดีที่สุด

The friction stir welding (FSW) could weld successfully the joint between aluminum alloy and stainless steel. The temperature at the fusion was below the melting point of material. For this process, the heat was produced by the friction of the rotating surface pin tool with material. The materials become plastic and at the same time the pin tool stir the material and fused together. The objective of research is to study the FSW weld the butt joint between AA6063 aluminum alloy and AISI 430 stainless steel and also testing of  the tensile strength of the butt joint by using various stirrer shape to compare with microstructure examination.

Experiment of this welding parameter have pin shapes that are :cylindrical stirrer ,screw cylindrical stirrer, cone stirrer, and screw cone stirrer at  rotational speed of 250-750 rpm, and in feed  of traverse speed of the welding head pin at 50-175 mm/min. The specimens were taken in  tensile strength of the welds  macrostructure and microstructure examinations, respectively.

Experimental results show that the screw cone stirrer shape gave the best welds with smooth surface without defects and indicated the maximum tensile strength of 126.33 MPa at the rotational speed of 500  rpm ,and welding speed of 125 mm/min. The macrostructure examination has tears of weld joint in zigzag line into aluminum. The microstructure grain of stainless steel and penetrated into aluminum in root of welds.  The chemical composition shows that the FeAl semi-metallic compound was penetrated into interface zone of aluminum grain onto welding speed increased in corresponding and affected to increase the best of  tensile strength of the weld joint.

 

DOWNLOAD : โครงสร้างและความแข็งแรงดึงของรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI430 ด้วยการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนตัวกวนรูปร่างต่างๆ