Corrosion rate comparison of aluminum and steel lap joint in Thai marine environment

โดย นฤพนธ์  จันทร์ขาว

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ รอยต่อวัสดุต่างชนิดกันเป็นรอยต่อที่มีความสำคัญ เนื่องจากรอยต่อของวัสดุต่างชนิดทำให้เกิดโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถแสดงข้อดีของวัสดุแต่ละชนิดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นหากพิจารณาปัญหาการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในปัจจุบันได้มีการนำเอาอะลูมิเนียมเข้ามาใช้งานแทนที่ชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อลดน้ำหนักของรถยนต์และส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิงอย่างประหยัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รอยต่อของอะลูมิเนียมและเหล็กมีความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในศึกษาอัตราการกัดกร่อนของรอยต่อเกยระหว่างเหล็กกล้า AISI 1015 และอะลูมิเนียม AA 1100 ในแหล่งน้ำทะเลไทยได้แก่ น้ำทะเลฝั่งภูเก็ต ฝั่งอุตสาหกรรมมาบตาพุด ฝั่งอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และฝั่งอ่าวมะนาว  หาน้ำหนักที่สูญเสียและอัตราการกัดกร่อนของชิ้นงานทดสอบ การทดลองใช้การทดสอบแบบจุ่มที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส โดยมีระยะเวลาในการทดสอบแต่ละสภาวะที่ 30 วัน ชิ้นงานที่ได้จากการทดสอบถูกนำไปทำการวิเคราะห์อัตราและกลไกการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นในรอยต่อเกย

ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ การศึกษาอัตราการกัดกร่อนของรอยต่อเกยระหว่างเหล็กกล้า AISI1015 และอะลูมิเนียม AA 1100 ในแหล่งน้ำทะเลไทย พบว่าในน้ำทะเลฝั่งภูเก็ต มีการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กและอะลูมิเนียมมากที่สุด คือ 4.4395% และ 10.1460% ตามลำดับ และมีอัตราการกัดกร่อนของเหล็กและอะลูมิเนียมมากที่สุดที่ระยะเวลา 30 วัน มีค่า 0.2472 มม./ปี และ0.6622 มม./ปี ตามลำดับ  พบธาตุอะลูมิเนียม (Al) ในปริมาณมากที่ผิวของเหล็ก จากการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกวาด นั่นแสดงให้เห็นว่าเกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิกบนผิวภายในรอยต่อเกยระหว่างเหล็กกับอะลูมิเนียมจึงเป็นเหตุทำให้อะลูมิเนียมเกิดการกัดกร่อนได้เร็วขึ้น

A Joint of different materials type is significantly in car industry because it provides a flexible structure to allow functional efficiency of each material. Although, there is one major disadvantage that is weight which is affected directly to fuel consumption. Recently, Aluminum has been used for replacing structural steel to reduce the weight of car and it can decrease of fuel consumption. Therefore, research and development of a joint between Aluminum and Steel is continuously studied. This research aims to study the corrosion rate of AISI 1015 steel and AA 1100 aluminum lap joint in Thai marine environment as well as examine in the weight loss of the sample. The experiments were conducted under seawater condition in four areas; there are Phuket Marine, Maptaphut Industrial coastal, Laemchabang Industrial coastal and Manao Bay at Prajuab Kirikhan province. In order to pursue the results of this study for 30 days and then an analysis of corrosion rate and its mechanism which were occurred in the lap joint were conducted.

The results of this study indicated that the maximum weight loss of AISI 1015 steel and AA 1100 aluminum lap joint were occurred at Phuket Marine condition which loss 4.4395% and 10.1460% respectively. Moreover, it also indicated that the maximum corrosion rate of AISI 1015 steel and AA 1100 aluminum lap joint were occurred under the condition of Phuket Marine at 30 days which were 0.2472 mm/year and 0.6622 mm/year respectively. In addition, the results of Scanning Electron Microscope approach was found that there are many aluminum compound (A1) on metal surface which is caused from the galvanic corrosion in the inner zone of AISI 1015 steel and AA 1100 aluminum lap joint. This was caused the faster corrosion of AA 1100 aluminum.

 

DOWNLOAD : การเปรียบเทียบอัตราการกัดกร่อนของรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมและเหล็กกล้าในแหล่งน้ำทะเลไทย