The condition based maintenance module development by using fmeca techniques and ITS application in rolling stock (trains)

โดย ชัยมงคล  ศรีจันทรา

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมดูลการซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพเพื่อทดแทนแผนการซ่อมบำรุงรักษาตามเวลาปรับคืนสภาพโดยใช้เทคนิค FMECA โดยประยุกต์ใช้งานกับชุดกำเนิดลมของรถไฟฟ้า ซึ่งมีแผนการซ่อมบำรุงรักษาตามเวลาปรับคืนสภาพ ที่มีการกำหนดไว้จากบริษัทผู้ผลิต ในระยะเวลาทุก 8 ปีหรือประมาณ 12,000 ชั่วโมงการทำงาน ซึ่งแผนการซ่อมบำรุงรักษาดังกล่าวนี้มีความยุ่งยากในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จากการใช้งานยังพบได้อีกว่าสภาพของชุดกำเนิดลมนี้ ยังสามารถทำงานได้ดี แม้ว่าจะถึงเวลาที่กำหนดไว้แล้วก็ตาม

ระเบียบและวิธีการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาวิธีการซ่อมบำรุงรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การ ศึกษาวิธีการซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพ การศึกษากระบวนการวิเคราะห์ FMECA การสร้างโมดูลการซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพ และการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของแผนการซ่อมบำรุงรักษา

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ผลคือ เทคนิคการวิเคราะห์ FMECA ช่วยในการยืดระยะเวลาการซ่อมบำรุงรักษาปรับคืนสภาพ จาก 8 ปี เป็น 12 ปีได้จริง โดยมีการใช้งานร่วมกับแผนการซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพที่สร้างขึ้นใหม่ อย่างไม่มีผลกระทบด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และการดำเนินการ ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาชุดกำเนิดลมของรถไฟฟ้า เป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 350,846 บาท ต่อปีของแผนการซ่อมบำรุงรักษาเดิม จากการประยุกต์ใช้ที่โรงซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้า ด้วยชุดกำเนิดลมจำนวน 30 ชุด และผลการวิจัยครั้งนี้ได้มีการนำเสนอให้ใช้งานจริง ณ โรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าในประเทศไทย และได้เผยแพร่เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบที่วิกฤต (FMECA) นี้ เพื่อประยุกต์ใช้กับการพัฒนาโมดูลการซ่อมบำรุงรักษาชุดกำเนิดลม ภายในองค์กรที่ใช้งานชุดกำเนิดลมรุ่นเดียวกันนี้อีกด้วย

This research aimed to develop a module for Condition Based Maintenance in order to replace Overhaul Scheduling Maintenance of the Rolling Stock by applying the technique of Failure Mode Effects and Criticality Analysis (FMECA) to the air supply compressor which a component of the Rolling Stock

Air supply compressor needs overhaul maintenance at every 8 years or approximately 12,000 operating hours prescribed by the manufacture.  The report shows that the air supply compressor is still in good condition even after that specific time.  Therefore, the researcher applies FMECA technique to develop a module for Condition Based Maintenance for the air supply compressor.

Findings from this study suggest that the technique of Failure Mode Effects and Criticality Analysis (FMECA) applied for the development of a module for maintenance of air supply compressor can extend the period of Overhaul Scheduling Maintenance from 8 years to 12 years which have no adverse effect on health, safety, environment and operation. This resulted in saving the maintenance cost amount 350,846 Baht cost reduction. Findings from this study have been proposed for actual practice in both maintenance depots in Thailand. Moreover, the FMECA technique has been publicized at a number of companies where the same series of air supply compressor are being utilized.

 

DOWNLOAD : การพัฒนาโมดูลซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพด้วยเทคนิค FMECA และการประยุกต์ใช้ในรถไฟฟ้า