ปัจจัยและพฤติกรรมในการเลือกซื้อโคขุนโพนยางคำของผู้ซื้อในจังหวัดสกลนคร

โดย นิรมล ผิวหูม

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมในการเลือกซื้อโคขุนโพนยางคำของผู้ซื้อในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคในจังหวัดสกลนครที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่บริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคำ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จานวน 400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่ม (Independent Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป (One Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน(Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพ รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท ด้านปัจจัยการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด ส่วนด้านราคา ช่องทางการจัดจาหน่าย และการส่งเสริมการตลาดผู้ตอบแบบถามให้ความสำคัญเท่ากัน คือระดับมาก ส่วนพฤติกรรมการบริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม บริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคาเป็นประเภท เนื้อสด ในชิ้นส่วนที่เป็นเนื้อเสือร้องไห้(ย่าง) บริโภคมื้อเย็น มีวัตถุประสงค์ในการซื้อก็เพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยในครอบครัวมีจานวนผู้บริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคำ 4 คนขึ้นไป ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลการบริโภคจะเป็นบุคคลในครอบครัว/ญาติ ชนิดในการประกอบอาหารที่ให้ความสำคัญมากที่สุด จะเป็นการย่าง ผู้บริโภคมีความถี่ในการบริโภคอยู่ที่ 1-2 ครั้ง/เดือน ปริมาณในการซื้อเนื้อโคขุนโพนยางคา อยู่ที่ 1- 2 กิโลกรัม/ครั้ง และมีจานวนเงินที่ซื้อเนื้อโคขุนโพนยางคา อยู่ที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 300 บาท/ครั้ง ส่วนพฤติกรรมหลังการบริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มหลังการบริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคาในระดับเท่าเดิม ความถี่หลังการบริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคาในระดับเท่าเดิม ปริมาณในการซื้อเนื้อโคขุนโพนยางคาหลังการบริโภคในระดับเท่าเดิม และแนะนาบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลอื่นให้บริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคาในระดับ เฉย ๆ การทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคาด้านความถี่ในการบริโภคแตกต่างกัน ปัจจัยในการเลือกซื้อเนื้อโคขุนโพนยางคา ด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการบริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคา ด้านความถี่ในการบริโภค

The purpose of this research. To determine the factors and behaviors in buying Ponyangkham beef cattle of buyers in Sakon Nakhon province. The subjects included,Consumers in Sakon Nakhon province aged 20 years and who consumed Ponyangkham beef. The buyer needs a total of 400 people by questionnaires as a tool for collecting data. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation.Analysis of the difference of the average population, 2 groups (Independent Sample t-test) analysis of variance of a single population of more than two groups or more (One Way ANOVA) If a difference to test the pair using LSD. (Least Significant Difference) analysis and simple correlation coefficient of Pearson (Pearson Product Moment Correlation Coefficient).
The results showed that most consumers are female aged 31 to 40 years ,marital status and have undergraduate education. These consumers are government official and state enterpise employee.A salary less than / equal to 10,000 baht. In market factors,The most interesting of respondents were the products. Cost, distribution, Marketing and promotion are important for respondents in the same level is very important level. Consumer behavior of the respondents is eating Ponyangkham beef cattle as fresh meat. Most of brisket beef is for a dinner. The purpose of purchasing for family consumption. the number of family’s consumer when they eat Ponyangkham beef cattle is more than 4 people. A family member or relative have influence on consumption. How to cook of consumer is grilled and the most grilled was consumption frequency is 1 – 2 times per month. The amount to average Ponyangkham beef cattle is 1-2 kg / time .The amount of purchase Ponyangkham beef cattle is less than or equal to 300 baht / time. Behavior ,frequency,the amount of the purchase after consumed are likely be the same level. Consumer’s recommendation other person or close friend to consume Ponyangkham beef cattle is idle level. In conclusion of hypothesis testing showed that different occupations have Behavior of consumption Ponyangkham beef cattle and frequency of consumption are varies.

DOWNLOAD : ปัจจัยและพฤติกรรมในการเลือกซื้อโคขุนโพนยางคำของผู้ซื้อในจังหวัดสกลนคร

Comments are closed.