The Factors of employee’s organizational Loyalty A Case of NEC Infrontia Thai Ltd

โดย วรรณสร ทัศกระแสร์

ปี      2549

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลทำให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การ กรณีศึกษาบริษัท เอ็นอีซี อินฟรอนเทีย ไทย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึง ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและระดับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มีผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัท เอ็นอีซี อินฟรอนเทีย ไทย จำกัด จำนวน 300 คนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยสถิติt- test สำหรับตัวแปรสองกลุ่ม และใช้สถิติ One-Way ANOVA (F-test) ในการทดสอบสมมติฐานสำหรับตัวแปรมากว่าสองกลุ่ม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กรณีที่ผลการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบเปรียบเทียบด้วยสถิติ LSD

จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็น 69% เป็นเพศชายคิดเป็น 31 เปอร์เซ็นต์ มีอายุมากกว่า 30 ปี คิดเป็น 63.3 เปอร์เซ็นต์ มีสถานภาพสมรสคิดเป็น 51เปอร์เซ็นต์ ระดับการศึกษาอยู่ที่มัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. คิดเป็น 38.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานปฏิบัติงาน 60.3 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 8,000~12,000 บาท มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 10 ปีขึ้นไป หน่วยงานที่สังกัดพนักงานส่วนใหญ่อยู่ในส่วนโรงงาน คิดเป็น 74.3เปอร์เซ็นต์ ในส่วนปัจจัยที่มีผลให้พนักงานมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานนั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และแยกพิจารณาแต่ละด้านตามอันดับความสัมพันธ์ดังนี้ ด้านนโยบายและการบริหารงานด้านลักษณะงาน ด้านการยอมรับนับถือ สภาพการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ด้านการปกครองบังคับบัญชาหรือการดูแล ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ความก้าวหน้า เติบโตในหน้าที่การงาน

ส่วนการทดสอบสมมติฐานระหว่างข้อมูลส่วนตัวกับความจงรักภักดีต่อองค์การ พบว่าระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความจงรักภักดีต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การพบว่า ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานทุกๆ ด้านมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.01 ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์มากที่สุด( 0.582) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับด้านความรับผิดชอบ (0.563) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (0.497) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับด้านความก้าวหน้า / เติบโตในหน้าที่การงาน (0.459) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับ ด้านการยอมรับนับถือ (0.447) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับด้านความสำเร็จของงาน (0.453) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับสภาพการทำงาน(0.442) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับด้านการปกครองบังคับบัญชาหรือการดูแล (0.396) รองลงมาเป็นความสัมพันธ์กับด้านเงินเดือนและสวัสดิการ (0.393) รองลงมาเป็นด้านนโยบายและการบริหารงาน (0.379) และความสัมพันธ์น้อยที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (0.344)

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ กับความจงรักภักดีต่อองค์การ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับความจงรักภักดีต่อองค์การมีความสัมพันธ์กัน ในทุกๆ ด้าน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่0.01โดยความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการทำงานมีความสัมพันธ์มากที่สุด (0.615) รองลงมาเป็นความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ(0.606) และความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในองค์การน้อยที่สุด (0.590)

DOWNLOAD