ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อย : กรณีศึกษา ไร่อ้อยจังหวัดกาญจนบุรี

โดย อุรุชา ฉิมฉ่ำ

บทคัดย่อ

          การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อย ในเขตพื้น ที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตและการตลาดในการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 ราย รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยวิธีหาอัตรากำไรขั้น ต้นและการหาจุดคุ้มทุน
         ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 28,868.78 บาท/ไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่รวม 11,334.11 บาท/ไร่ และต้นทุนผันแปรรวม 17,534.67 บาท/ไร่ รายได้รวมมีค่าเท่ากับ 43,050 บาท/ไร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะได้กำไรขั้น ต้นรวมเท่ากับ 14,181.22 บาท/ไร่ คิดเป็นอัตรากำไรขั้น ต้นรวมได้เท่ากับ 32.94 จากการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน พบว่า จำนวนผลผลิตรวมที่คุ้มทุน มีค่าเท่ากับ 15.14 ตัน/ไร่ และคิดเป็นยอดขายรวมที่จุดคุ้มทุน เท่ากับ 15,892.09 บาท/ไร่ อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากการวิเคราะห์ทางด้านบัญชี และการเงิน เช่น ด้านการตลาด ด้านเทคนิคการผลิต และด้านการจัดการ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

         The purposes of the study were to investigate the cost and return on investment from the sugarcane planting in Kanchanaburi Province, and to examine the general conditions of production and marketing in sugarcane planting of the agriculturists in Kanchanaburi Province. The interview method was used for data collecting from the sample consisting of 3 agriculturists. The data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, and the result were applied for gross profit and break-even point analysis.
         The study revealed that the total cost was 28,868.78 Baht/Rai, comprising the fixed cost of 11,334.11 Baht/Rai, the total variable cost of 17,534.67 Baht/Rai, the total income of 43,050.00 Baht/Rai. When comparing, there was the total gross profit of 14,181.22 Baht/Rai. The gross profit rate was 32.94. Concerning the Analysis of the break-even point, it was found that the break-even point in the production was 15.14 Ton/Rai and the total sales at the break-even point was 15,892.09 Baht/Rai. However, the investors should consider the other factors apart from the analysis of accounting and finance e.g., the production techniques, the marketing, and the management which could be applied for consideration in a more efficient decision making and possibility of the project.

DOWNLOAD : ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อย : กรณีศึกษา ไร่อ้อยจังหวัดกาญจนบุรี