ความต้องการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดย สุรีพร เป็งเงิน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ระดับความต้องการการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จานวน 843 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จานวนตัวอย่าง 305 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ผลด้วยสถิติค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
         ผลการค้นคว้าอิสระพบว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีส่วนใหญ่ เป็นหญิง มีอายุต่ำกว่า 39 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาโท เป็นประเภทข้าราชการ มีตำแหน่ง เป็นอาจารย์ มีระยะเวลาในการทางาน 1-10 ปี และส่วนใหญ่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีความต้องการพัฒนาตนเองอันดับแรก คือ ด้านการศึกษาต่อ รองลงมาคือด้านการฝึกอบรม ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และด้านการวิจัย เรียงตามลาดับ และอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีการให้คุณค่าต่อภาระงานทั้ง 6 งาน คืออาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีให้คุณค่าต่อภาระงานอันดับแรก คือ งานสอน รองลงมาคืองานวิจัย งานบริการทางวิชาการ งานทานุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานพัฒนานักศึกษา และงานบริหาร เรียงตามลำดับ ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าอาจารย์ที่มีเพศแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเอง ด้านการศึกษาต่อ และด้านการฝึกอบรมแตกต่างกัน อาจารย์ที่มีอายุแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่างกัน อาจารย์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการแตกต่างกัน

         The objectives of the study were 1) to examine the self-development needs of the instructors at Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2) to analyze the levels of self-development needs of the instructors at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The population, selected by the quota sampling method, was 843 instructors at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The questionnaires were used as the instrument, and the data were analyzes applying Frequency, Percentage,Arithematic Mean, Standard Deviation, T-test and F-test at 0.05 level of significance.
         The study demonstrated that most of the respondents were female of lower 39 years old, earned Master’ degrees, were the Government official, held the position as instructor, had 1-10 years of work experience, and worked in the Faculty of Engineering. The analysis result showed that self-development needs of the most instructors was further study. Next were the needs in training, academic position holding, and research conducting respectively.
         The virtue of work in views the of the instructors as regards the 6 work burdens could be arranged in the following orders: teaching works, conducting research works, academic service works, preservation and nourishment of arts and culture works, student development works, and administration works respectively. With regards to the hypothesis test, the study on self-development needs of the instructors revealed that different sex caused the difference in the needs of further study and training. Different age caused the difference in the needs of academic position holding. Moreover, different education levels caused the difference in the needs of academic position holding.

DOWNLOAD : ความต้องการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรu