A comparative of Satisfaction Concerns the SupportingPersonal between Government University and PrivateUniversity in Pathumthani Province

โดย สุจิตรา แนใหม่

ปี     2549

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรัฐบาลกับมหาวิทยาลัยเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี ใช้กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรัฐบาลกับมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 370 คน

พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรัฐบาลเป็นเพศหญิงมีอายุ 21 -30 ปี มีสถานภาพเป็นโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงาน 5 – ต่ำกว่า10 ปี รายได้ต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับทั่วไป/เจ้าหน้าที่ธุรการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ แล้วพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีเกณฑ์อยู่ในระดับมากและปานกลาง โดยมีความพึง
พอใจในระดับมาก 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ด้านสถานภาพทางสังคม และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง 8 ด้านได้แก่ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยและขั้นตอนต่าง ๆ ในการบริหาร ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านเงินเดือนและสวัสดิการด้านความมั่นคงในงาน ด้านการเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านการปกครองบังคับบัญชา ตามลำดับ

ผู้ตอบแบบสอบถามมหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุ 21-30 ปี สถานภาพเป็นโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงาน 5 – ต่ำกว่า 10 ปี รายได้ต่อเดือน 10,001- 15,000 บาท และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับทั่วไป/เจ้าหน้าหน้าที่ธุรการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆแล้วพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีเกณฑ์อยู่ในระดับมากและปานกลาง โดยมีความพึงพอใจในระดับมาก 12 ด้านได้แก่ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสถานภาพทางสังคม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ด้าสถานภาพทางสังคม ด้านความมั่นคงในงาน ด้านการเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านการปกครองบังคับบัญชา และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ

ส่วนการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไปกับความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรัฐบาลกับมหาวิทยาลัยเอกชน พบว่าเพศ อายุ สถานภาพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันและการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชนมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านความสำเร็จในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ส่วนความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

DOWNLOAD