The use of extract of greater galangal[languas galanga] for plant disease control

โดย วิทยา ทวีนุช, สถิรวงศ์ แจ่มจรรยา, สุขุมวัฒน์ พีระพันธุ์ และฉวีวรรณ บุญเรือง

ปี 2549

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของสารสกัดจากข่าในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราและเชื้อแบคที่เรียสาเหคุโรคพืชสำคัญบางชนิดและเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดจากข่าในการลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีบางชนิดบนพืช วิธีดำเนินการวิจัย การเตรียมสารสกัดจากข่าโดยใช้ข่าแห้ง 200 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชั่วโมง และกรองเอาน้ำที่มีสารสกัดจากข่ามาใช้ทดสอบ ระยะเวลาที่ทำการวิจัยและสถานที่ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2547 ถึงเดือนกันยายน 2549 รวมระยะเวลา 2 ปี ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี วิทยาเขตอยุธยาหันตรา วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตสุรินทร์ และวิทยาเขตกาฬสินธุ์ ในการศึกษาผลของสารน้ำมันหอมระเหยจากข่าเพื่อควบคุมโรค Canker ของมะกรูดพบว่าสารน้ำมันหอมระเหยจากข่าทุกระดับความเข้มข้นที่ทดสอบไม่สามารถควบคุมโรค canker ได้ โดยพบว่าทุกระดับความเข้มข้นเป็นโรค 100% ดังนั้น สารน้ำมันหอมระเหยจากข่าจึงไม่เหมาะต่อการนำมาใช้เพื่อควบคุมโรค canker ในการศึกษาผลของสารน้ำมันหอมระเหยจากข่าเพื่อควบคุมโรคเน่าและผักกาดขาวปลี พบว่าสารน้ำมันหอมระเหยจากข่าที่ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ใช้ในการทดลองคือ 5,000 ppm. มีแนวโน้มให้ผลดีที่สุด คือมีเปอร์เซนต์การเกิดโรคเพียง 13.67 % อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการใช้สารน้ำมันหอมระเหยจากข่า ที่ระดับความเข้มข้นอื่นๆ และการไม่ใช้สารน้ำมันหอมระเหย ดังนั้น หากใช้สารน้ำมันหอมระเหยจากข่าที่ระดับความเข้มข้นสูงกว่า 5,000 ppm. อาจให้ผลดีในการควบคุมโรคเน่า…

DOWNLOAD : การใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากข่าในการป้องกันกำจัดโรคพืช