The practice of the five buddhist precepts of the students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย  ปัทมา ผาดจันทึก, สยาม ดำปรีดา, อำไพ หมื่นสิทธิ์

ปีงบประมาณ  2550

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ใน ชีวิตประจำวันของนักศึกษา 3. เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 10 คณะ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธและกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกา 2550 จำนวน 471 คนโดยกลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแคว์ ซึ่งจากการวิเคราะห์สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ในการศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติตนตามศีล 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลข้อ 5 เรื่องการไม่เสพยาเสพติด รองลงมาคือศีลข้อ4 เรื่องการไม่รับซื้อของที่ถูกขโมยมา ส่วนศีล 5 ที่นักศึกามักจะละเมิดมากที่สุดคือศีลข้อ 4 เรื่องการไม่รับซื้อของที่ถูกขโมยมา ส่วนศีล 5 ที่นักศึกษามักจะละเมิดมากที่สุดคือศีลข้อ 4 เรื่องพูดไร้สาระ รองลงมาคือการพูดหยาบคายกับผู้อื่น และศีลข้อ 5 เรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และคณะ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา ส่วนอายุ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ย ไม่มีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา ส่วนปัจจัยสนับสนุนทั้ง 3 ด้านคือ ความรู้ความเข้าใจเรื่องศีล 5 สภาพแวดล้อมทางครอบครัว และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา

DOWNLOAD : The practice of the five buddhist precepts of the students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi