The Cultivation of Spirulina platensis Using RMUTT Sewage for Animal Feed Production

โดย อังคณา ธนกัญญา, สุจยา ฤทธิศร, ประสิทธิ์ สิทธิไกรวงศ์

ปี     2549

บทคัดย่อ

สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina platensis) ที่เก็บเกี่ยวแล้ว สามารถนำมาทำแห้งโดยการอบด้วยเตาอบความร้อนแห้ง (hot air oven) ที่อุณหภูมิ 50 70 และ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3.5 2.5 และ 1 ชั่วโมงตามลำดับ โดยเมื่อนำสาหร่ายแห้งไปวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนด้วยวิธี T-CM-003 Kjedahl Method: Based on AOAC (2000) 991.20 พบว่าปริมาณโปรตีนที่ได้ ไม่มีความแตกต่างกันกล่าวคือมีปริมาณโปรตีน (%, factor 6.25) โดยเฉลี่ย 55.99 55.59 และ55.75% ตามลำดับ

ส่วนปริมาณเบตาแคโรทีน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ปริมาณเบตาแคโรทีน ที่วิเคราะห์โดยใช้วิธี T-CM-011 Based on Food Chemistry (2003).83(2):205-212 ของสาหร่ายที่ผ่านการอบที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสมีค่าเฉลี่ย 73.20 มิลลิกรัมต่อ100กรัม สูงกว่าสาหร่ายที่อบในอุณหภูมิ 50 และ 70 องศาเซลเวียสที่มีปริมาณเบตาแคโรทีน 45.59 และ 44.10 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ ดังนั้น ในการอบแห้งสาหร่ายโดยใช้เตาอบความร้อนแห้ง จึงควรเลือกใช้อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เนื่องจากทำให้สาหร่ายแห้งที่ได้ มีปริมาณเบตาแคโรทีนสูงกว่า

DOWNLOAD : การนำน้ำทิ้งภายในศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองเพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์