Diversity  of  Termite  and  Season  Effect  on  Species  Diversity  in  Rajamangala  University  of  Technology  Thanyaburi

โดย ชนวัฒน์  อนันต์, ภาชินี  โพคาแสง, รุ่งทิวา จิตราวุธ และ วนิดา  เล่าซี้ 

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

จากการสำรวจ และศึกษาปลวกในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี ในเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม 2553 จากการสุ่มสำรวจตัวอย่างปลวกจำนวน 108  ตัวอย่าง  พบปลวกใน 2 วงศ์ใหญ่ คือ Family Rhinotermititidae และ Termitidae จำแนกเป็น 6 สกุล ได้แก่ Genus Odontotermes sp., Macrotermes sp., Microcerotermes sp., Termes sp., Coptotermes sp.,  Parrhinotermes sp. 

จากข้อมูลพบว่า ปลวกมีการกระจายตัวแบบกลุ่ม (Clumped) โดยพบ Microcerotermes sp. และ Termes sp.  เป็นปลวกชนิดเด่นที่สุดและรองลงมา  พบมากในเกือบทุกบริเวณพื้นที่สำรวจ  ปลวกที่พบบริเวณพื้นที่สำรวจเป็นปลวกที่สร้างรังอยู่ในเนื้อไม้ (Wood dwelling) และกินเนื้อไม้ (Wood feeder)

เนื่องจากปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมในพื้นที่สำรวจ  มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุณหภูมิ ความชื้น กรด-ด่าง น้อยมากส่งผลทำให้ไม่มีผลต่อความแตกต่างทั้งชนิดและปริมาณรังปลวกที่แพร่กระจายอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 

The termite surveying and studying in Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Patumthani Province from July to December 2010, the results of 108 samples showed that there are 2 Families; Rhinotermitidae and Termitidae with 6 Genus; Odontotermes sp., Macrotermes sp., Microcerotermes sp., Termes sp., Coptotermes sp., Parrhinotermes sp.,

The data also showed that the termite distribution was clumped type. The highest population was Microcerotermes sp. Then Termes sp. Which were found almost every where in RMUTT. The dominant termite species were wood dwelling and wood feeder:

There were not significant relation between abiotic environment factor such as temperature, soil humidity, Soil pH and litter with termite nest distribution.

 
DOWNLOAD : ความหลากหลายของปลวกและผลของฤดูกาลต่อความหลากหลายในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี