Buying Behavior of Female Muslim’s Fashionable Clothes  in Bangkok Metropolitan Administration

โดย กนกวรรณ วิโรจน์

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระเรื่อง พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ศึกษาด้านความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาข้อมูลด้านพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สตรีมุสลิมที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 423 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติสหพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 21 – 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา มีสถานภาพโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 15,000 บาท สตรีมุสลิมให้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับมากต่อด้านผลิตภัณฑ์โดยรวม ด้านราคาโดยรวม ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายโดยรวม และด้านการส่งเสริมการตลาดโดยรวมจากการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น

ด้านพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นที่ซื้อบ่อยที่สุด คือ ผ้าคลุมผม ตามลักษณะและวิธีการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ให้ความสำคัญใน ระดับมากกับคุณภาพและความทนทาน เนื้อผ้าสวมใส่สบาย ความประณีต รูปแบบที่หลากหลาย ด้านเหตุผลสำคัญที่เลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ให้ความสำคัญในระดับมากกับความชอบส่วนตัว มีรูปแบบใหม่จัดรายการลดราคา ด้านบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ให้ความสำคัญในระดับปานกลางกับเพื่อน แฟน คนรัก ด้านแหล่งข้อมูลในการรับข่าวสารของเสื้อผ้าแฟชั่น ให้ความสำคัญในระดับปานกลางกับนิตยสาร โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต สีที่ชอบซื้อมากที่สุด คือ สีดำลวดลายเสื้อผ้าแฟชั่นที่เลือกซื้อ คือ ซื้อแบบไม่มีลวดลาย แหล่งที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น คือ ซื้อจากร้านจำหน่ายเสื้อผ้ามุสลิมโดยเฉพาะ มูลค่าการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นต่อครั้ง มีมูลค่าการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นต่ำกว่าหรือเท่ากับ 500 บาทต่อครั้ง ปริมาณการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น มีปริมาณการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น 2 ชิ้นต่อครั้งและความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น มีความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น 2 ครั้งต่อเดือน และจากผลการวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า สตรีมุสลิมที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพและ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการให้ความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สตรีมุสลิมที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพและ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสำคัญของส่วนประสมการตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The objective of this independent study was to study the female Muslims’ demographic characteristics, to study their behavior of buying fashioned clothes in Bangkok, and to study the importance of marketing mix affecting the behavior of buying fashioned clothes. The sample was 423 female Muslims buying fashioned clothes in Bangkok. The research instrument was a questionnaire. The descriptive statistics consisted of frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. Also, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and one way analysis of variance (One-way ANOVA) were applied to test the hypotheses. As for the demographic characteristics, the results revealed that most of the samples were undergraduate students, single, and between 21-30 years. In addition, they finished the Bachelor’s Degree and their incomes were more than 15,000 baht.

The finding showed that most of them saw the marketing mix as important, especially the overall products, prices, distribution channel, and marketing promotion. As for the female Muslims’ behavior of buying fashioned clothes in Bangkok, the type of the fashioned clothes which the female Muslims often bought was scarf. They bought the fashioned clothes because of their qualities, durableness, soft fabric, neatness, and various patterns. Besides, the important reasons which they bought were personal fondness, new patterns, and discount (At the high level). As for the person influencing the decision making, they were friends, and lovers (At the moderate level). For information receptivity, they saw magazines, televisions, and internet as important (At the moderate level). The most favorite color was black and the fashioned clothes’ design was no patterns. Also, the source of buying the fashioned clothes, they bought from clothes shop for only Muslims. At a time, they paid 500 baht or less than and they bought only two pieces of clothes approximately. In addition, they bought two times a month.

According to the hypothesis testing, it was found that the female Muslims with different levels of education, occupations, statuses, income per month had the significantly different behavior of buying the fashioned clothes and gave priority to the marketing mix of the fashioned clothes differently and significantly at the 0.05 level. Besides, it was found that the importance of the marketing mix of the fashioned clothes was related to the female Muslims’ behavior of buying the fashioned clothes at the 0.05 level.

DOWNLOAD : Buying Behavior of Female Muslim’s Fashionable Clothes in Bangkok Metropolitan Administration