Expectation and Actuality of Welfare Quality : A Case Study of Handicapped Veterans

โดย ณรงค์ ชาติเวช

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังและการได้รับจริงและความต้องการของทหารผ่านศึกที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังและการได้รับจริงของคุณภาพสวัสดิการของทหารผ่านศึกพิการในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง 285 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Sample t-test, F-test, LSD, Linear Multiple Regression และ Paired Sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 46 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมต้น มีรายได้รวมต่อเดือน 25,001 บาทขึ้นไป มีชั้นยศก่อนพิการเป็นพลทหารหรือ อส.หรือเทียบเท่า ระยะเวลาพิการอยู่ระหว่าง 21-30 ปี สาเหตุความพิการเนื่องมาจากการรบไม่มีอาชีพและอุปสรรคจากความพิการส่วนใหญ่ไม่เป็นปัญหาโดยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ภาพรวมด้านความต้องการความสำเร็จในชีวิต พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ ระดับการศึกษาและระยะเวลาที่พิการของทหารผ่านศึกมีผลต่อระดับความคาดหวังคุณภาพสวัสดิการต่างกัน ส่วนอาชีพในปัจจุบันของทหารผ่านศึกมีผลต่อระดับการได้รับจริงของคุณภาพสวัสดิการต่างกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความถดถอยพหุคูณพบว่า ความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคมความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง และความต้องการความสำเร็จในชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคาดหวังของทหารผ่านศึกพิการ และสามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ ŶT = 0.425 + 0.168X1 + 0.169 X2 + 0.068 X3 + 0.215 X4 + 0.273 X5 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.924 และสามารถทำนายค่าสมการของการวิเคราะห์ได้เท่ากับร้อยละ 85.10 ส่วนด้านการได้รับจริงพบว่า ความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการได้รับความนับถือยกย่องและความต้องการความสำเร็จในชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการได้รับจริงของทหารผ่านศึกพิการ ภาพรวมและสามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ ŶT = 0.260 + 0.177X1 + 0.154 X2 + 0.186 X3+ 0.178 X4 + 0.198 X5 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.928 และสามารถทำนายค่าสมการของการวิเคราะห์ได้เท่ากับร้อยละ 85.90 ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและการได้รับจริงของคุณภาพสวัสดิการของทหารผ่านศึกพิการพบว่าแตกต่างกันโดยความคาดหวังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการได้รับจริงทุกด้าน

The purposes of this research were to explore 1) factors that affected the handicapped veteran’s expectation and actuality of received welfare quality, and 2) veteran’s needs that influenced the expectation and actuality of welfare quality. The sample group was 285 handicapped veterans in Bangkok and the provinces nearby. The propositional sampling method and questionnaires were used to collect data. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Sample t-test, F-test, LSD, Linear Multiple Regression, and Paired Sample t-test at the significance level 0.05.

The analysis results found that most of the respondents were 46 years old or older, married, educational level junior high school, 25,001 baht or more of monthly income, ranked Private or equal before being handicapped, no career, and were able to help themselves while being handicapped. Overall aspects of needs to be successful in life were in the medium level.

The hypothesis results found that differences in age, educational level, and period of time of being handicapped affected the level of expectation in welfare quality. Current career affected the actual welfare quality received. The analysis of correlation and multiple regression found that the needs in physical, security, social, respect, and life success had positive correlation with handicapped veteran’s expectation and formed the forecasting equation as follows: ŶT = 0.425+0.168X1+0.169 X2+0.068 X3+ 0.215 X4+0.273 X5 and the multiple regression coefficient value was 0.924 with 85.10% of forecasting ability. In the aspects of actual received welfare quality, the results found that the needs in physical, security, social, respect, and life success had positive correlation with handicapped veteran’s actual received welfare quality and formed the forecasting equation as follows: ŶT = 0.260+0.177X1+0.154 X2+0.186 X3+0.178 X4+0.198 X5 and the multiple regression coefficient value was 0.928 with 85.90% of forecasting ability. The comparison between actual and expected welfare quality of handicapped veterans found differences, and the handicapped veteran’s expectation had higher mean value than the actual received welfare quality in all aspects.

DOWNLOAD : Expectation and Actuality of Welfare Quality : A Case Study of Handicapped Veterans