Factors Affecting Decision to Study in the Undergraduate Level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย จิตราภรณ์ ช้างทอง

ปี 2552

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจและมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการการตลาดและลักษณะการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 1 ประจ าปีการศึกษา 2552 จ านวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) ส าหรับจ านวนนักศึกษาทุกคณะ/วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จ านวนนักศึกษาทั้งหมด 7,541 คน และก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคณะโดยการเทียบสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของเพียร์สัน

ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 19 – 20 ปี มีวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพอย่างละ 200 คน จบจากโรงเรียนของรัฐบาล มีเกรดเฉลี่ยจาก สถานศึกษาเดิมอยู่ระหว่าง 2.00 – 2.50 ส่วนใหญ่ก าลังศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ มีภูมิล าเนาเดิมในเขตภาคกลาง ผู้ปกครองประกอบธุรกิจส่วนตัวและผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านภาพรวมและ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในด้านภาพรวม อยู่ในระดับมาก

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานพบว่าคณะ/วิทยาลัยที่ก าลังศึกษาอยู่ภูมิล าเนาเดิม รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในด้านภาพรวมส่วนวุฒิการศึกษาและคณะ/วิทยาลัยที่ก าลังศึกษาอยู่ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านภาพรวมนอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมยังมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในระดับมากและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน

The purposes of this independent study were to study factors affecting decision making and relating with demographic factors, marketing mix factors and decision characteristics to study in the undergraduate level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

The sample group in this study was 400 newly graduated high school or vocational school students of the education year 2009. Questionnaires were used to collect data and the sampling method was stratified sampling. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Pearson correlation coefficient (r).

The independent study results found that most of the respondents were females, 19-20 years old, high school or vocational school certificate (200 each), graduated from public school with 2.00-2.50 GPA. Most of them were studying at the Faculty of Business Administration, were residents of the central region, and had parents that owned a business with 10,001 – 20,000 Baht monthly income. The overall opinion level on marketing mix factors and decision to study in the undergraduate level were in the high level.

The hypotheses testing results found that faculty/college (where they were studying), residential region, and parent average monthly income were factors affecting decision to study in the undergraduate level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Educational level and faculty/college where they were studying were factors affecting marketing mix factors that correlated with decision to study in the undergraduate level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. In addition, overall image of marketing mix factors correlated in the same direction with decision to study in the undergraduate level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi in the high level.

 

DOWNLOAD : Factors Affecting Decision to Study in the Undergraduate Level at Rajamangala University of Technology Thanyaburi