Degraded  Rhizophora sp. and Avicennea sp. leaves with Fungi at Abandons Shrimp Farms , Kokam District Samutsakron Province 

โดย ธนิดา แสงวงศ์ รุ่งรวิน สุวรรณคร วรัญญา สุขหน้าไม้ และวีณา สุวรรณวงษ์

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาการย่อยสลายใบโกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) ใบโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ใบแสมขาว (Avicennia alba) และใบแสมทะเล (Avicennia marina)  บริเวณนากุ้งร้าง ตำบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2552 – 2553 พบว่าใบโกงกางใบเล็ก และใบโกงกางใบใหญ่ สามารถย่อยสลายใบไม้หมด(100%) ใช้เวลา 8 เดือน  สำหรับใบแสมขาว และใบแสมทะเลสามารถย่อยสลายหมดหมด(100%)ใช้เวลา6เดือนให้ธาตุอาหารโปรแตสเซียมไนโตรเจนและฟอสฟอรัสคืนสู่ดินเลนมากที่สุดในฤดูร้อน  ฤดูฝนและฤดูหนาว  ตามลำดับเมื่อศึกษาการย่อยสลายใบโกงกางใบเล็ก ใบโกงกางใบใหญ่ ใบแสมขาว และใบแสมทะเล น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม ด้วยเชื้อราบนซากโกงกางใบใหญ่ ใบแสมขาว และใบแสมทะเล จำนวน 3 สกุล ได้แก่ Aspergillus niger (AV21)  Trichoderma viride (AY8) และ Penicillium sp. (DV19)  ปริมาตร  5 10 และ 15 มิลลิลิตร พบว่าเชื้อรา Penicillium sp. 15 มิลลิลิตร สามารถย่อยสลายเซลลูโลสในใบโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ น้ำหนัก 0.1 กรัม ให้ปริมาณน้ำตาลดีที่สุด เท่ากับ  50 กรัม/ลิตร รองลงมาได้แก่ เชื้อรา  A. niger และ T. viride ให้ปริมาณน้ำตาล 48 และ 40 กรัม/ลิตร ตามลำดับ  แต่เชื้อรา  A. niger  15 มิลลิลิตร สามารถย่อยสลายเซลลูโลสในใบแสมขาว และใบแสมทะเล น้ำหนัก  0.3 กรัม สามารถย่อยสลายให้ปริมาณน้ำตาลดีที่สุด เท่ากับ 49.5 กรัม/ลิตร รองลงมา ได้แก่ เชื้อรา Penicillium sp. และ  T. viride ให้ปริมาณน้ำตาล 48  และ 42 กรัม/ลิตร ตามลำดับ

The study of  Rhizophora apiculata, Rhizophora mucronata, Avicennia alba and Avicennia marina leaves  degradation at  abandoned  Shrimp farms, Kokum District, Samutsakon Province in 2009-2010, the results showed that the leaves of R. apiculata and R. macronata degraded with 100% were in 8 month and with in 6 month for A. alba and A. macronata.  The  K, N and P returned  rate  from high to low were   in Summer, Rainy season and Winter  respectively.  The 0.1-0.3 gm. leaves degradation of, Aspergillus niger (AV21), Trichoderma viride (AY8) and Penicillium sp. (DV19) at 5 10 and 15 ml.  showed  that  15  ml.  Penicillium sp., with 0.1 gm.   R. apiculata and R. macronata leaves gave highest glucose yield 50 g/l, then  A. niger  and  T. viride  gave glucose 48 and 40 g/l respectively.  However, 15 ml.  A.niger  degraded 0.3 gm.  A. alba and A. macronata leaves  and gave highest glucose yield,  49.5 g/l , then Penicillium sp.  and T. viride gave glucose 48 and 42 g/l respectively.

DOWNLOAD :  การย่อยสลายใบโกงกางและใบแสมด้วยเชื้อรา บริเวณนากุ้งร้าง ตำบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร