Production of Plywood from Corncob for Heat Resistance Wall in Building

โดย อนินท์ มีมนต์, ศิริชัย ต่อสกุล และสมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล

ปี 2552

บทคัดย่อ (Abstract)

แผ่นอัดเรียบจากซังข้าวโพดที่อัดได้มีขนาด 60 x 90 เซนติเมตร หนา 15 มิลลิเมตร ที่ทำการทดลองด้วยอัตราส่วนผสม 2:1, 3:1, 4:1 และ 5:1 การทดสอบความต้านต่อการคืนรูป จะพบว่าส่วนผสม 4:1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1577 เมกะปาสคาล และ 5:1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,392 เมกะปาสคาล ซึ่งเป็นค่าที่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน มอก. 876-2547 ที่ระบุไว้ เนื่องจากมีส่วนผสมจากซังข่าวโพดมากกว่ากาว เกินไปจึงทำให้มีการยึดเกาะระหว่างซังข้าวโพดกับกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ ได้ไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ชิ้นงานเปราะและไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร ค่าพองตัว พบว่าที่ชิ้นทดสอบอัตราส่วน 5:1 แสดงค่าการพองตัวมากสุดโดยมีค่าการพองตัวเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 % และค่าการพองตัวจะมีลักษณะลดลงเมื่ออัตราส่วนผสมของกาวมีค่ามากขึ้น ในอัตราส่วนผสม 2:1 แสดงค่าการพองตัวน้อยที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.32 % จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าการพองตัวของชิ้นทดสอบจะมีค่าน้อยเมื่อได้ทำการเพิ่มอัตราส่วนของกาวต่อปริมาณของซังข้าวโพด นอกจากนี้เมื่อได้ทำการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน มอก. 876-2547 พบว่าแผ่นอัดเรียบที่ได้จากการทดลองผ่านมาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ว่าการพองตัวตามความหนาต้องไม่เกิน 12 % แผ่นอัดเรียบจากซังข้าวโพด จะพบว่าปริมาณการผสมกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์มาก การยึดตัวของซังข้าวโพดก็จะสูง แต่จะใช้ต้นทุนในการผลิตที่สูง และถ้าปริมาณการผสมซังข้าวโพดมาก กาวน้อยคุณสมบัติแผ่นอัดก็จะลดลง ดังนั้นส่วนผสมระหว่างซังข้าวโพดกับกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่เหมาะสำหรับการพัฒนาในเชิงพานิชย์ คืออัตราส่วน 3:1 เพราะมีค่าเฉลี่ยจากผลการทดลองอยู่ในมาตรฐานของ มอก. 876-2547 และมีค่าเฉลี่ยในการผสมดีที่สุด

DOWNLOAD : การผลิตไม้อัดจากซังข้าวโพดสำหรับเป็นผนังฉนวนความร้อนในอาคาร