The Development of Roof Tile and Ceiling using Natural Rubber for Reducing the Temperature at the Interior of the Buildings

โดย นายประชุม คำพุฒ, สมเกียรติ รุ่งทองใบสุรีย์, สมพิศ ดีบุญโน และสุโรจน์ ศรีสินหอม

ปี 2552

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้น้ำยางธรรมชาติ (น้ำยางข้น) มาผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์และฝ้าเพดานยิปซัม โดยกำหนดอัตราส่วนของเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (หรือผงยิปซัม) เท่ากับ 0.000, 0.025, 0.050, 0.075, และ 0.100 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (หรือผงยิปซัม) เท่ากับ 0.50 (รวมปริมาณน้ำในน้ำยางธรรมชาติ) และผสมสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ ทำการหล่อมอร์ต้าร์สำหรับทดสอบสมบัติต่าง ๆ ตามมาตรฐาน มอก.535-2540 และ มอก.219-2524 พบว่า เมื่อผสมน้ำยางธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ความหนาแน่น การดูดซึมน้ำ ความต้านทานแรงอัด และสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมีแนวโน้มลดลง แต่ความต้านทานแรงดึง และความต้านทานแรงดัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงว่าการผสมปริมาณน้ำยางธรรมชาติที่เหมาะสม มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาซีเมนต์และฝ้าเพดานยิปซัมให้มีสมบัติการป้องกันการดูดซึมน้ำและเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีได้ต่อไป

The aim of this research is to use latex from natural rubber (concentrated latex) mixed in roof tile and ceiling for developing the strength and thermal insulation properties. The latex to cement (orgypsum) ratios are fixed at 0.000, 0.025, 0.050, 0.075, and 0.100 by weight. Water to cement (orgypsum) ratio is 0.50 (include water content in latex) and mixing with nonionic surfactants. The mortar samples are cast for testing the properties followed the TIS standard No. 535-2540 and 219-2524. From the results, it is found that the increase of latex affects in decreasing of density, water absorption, compressive strength and coefficient of thermal conductivity but tensile strength and bending strength increase. In the future, this indicates that the using of natural-rubber at some suitable amount can develop to the roof tile and ceiling product having the properties of waterproof and thermal insulation.

DOWNLOAD : การพัฒนากระเบื้องหลังคาและฝ้าเพดานโดยใช้ยางธรรมชาติเพื่อลดอุณหภูมิภายในอาคาร