Needs Assessment Study of Para Rubber Tree Growers in Cha – Uat District, Nakorn Sri Thammarad Province

โดย นัฏกานต์ หนูนวล

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา พื้นที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา พื้นที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างกับกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่ม ใช้ Independent Samples

T-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม ใช้ (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างจะใช้การทดสอบรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows

ผลการวิเคราะห์สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน มีจำนวนแรงงานในครอบครัว 1-2 คน ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของครอบครัว มีรายได้จากการปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท มีค่าใช้จ่ายจากการปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อเดือน 2,000-5,000 บาท ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้ทราบว่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ปัจจุบันจากการปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความต้องการด้านความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ที่แตกต่างกัน แต่มีความต้องการด้านการให้บริการ สนับสนุน ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต การดูแลรักษา และการตลาด ไม่แตกต่างกัน จำนวนแรงงานในครอบครัว รายจ่ายปัจจุบันจากการปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความต้องการด้านความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา และความต้องการด้านการให้บริการสนับสนุนช่วยเหลือปัจจัยการผลิต การดูแลรักษา และการตลาด ไม่แตกต่างกัน อาชีพหลักของครอบครัวที่แตกต่างกันมีความต้องการด้านความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา และความต้องการด้านการให้บริการ สนับสนุน ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต การดูแลรักษา และการตลาด แตกต่างกัน

การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการปลูกผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการปลูกยางพาราอยู่ในช่วงเริ่มกรีดยาง ( 7-10 ปี) มีพื้นที่ปลูกยางพารา 5-10 ไร่ มีระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยยาง1-2 ครั้ง/ปี ฉีดยากำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ไม่มีการปลูกพืชแซมกับการปลูกยางพารา ไม่ทราบชื่อพันธุ์ยางที่ปลูก แหล่งพันธุ์ยางที่ปลูกได้จากการซื้อจากพ่อค้า ขายผลิตภัณฑ์จากยางพาราเป็นน้ำยางข้น โดยขายผลผลิตให้กับพ่อค้าในหมู่บ้าน และได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราโดยการศึกษาด้วยตนเอง

การวิเคราะห์สภาพปัญหาและ อุปสรรคในการปลูกยางพารา มี 3 ด้าน คือ (1) ปัญหาด้านการปลูกยางพารา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องขาดแคลนเงินทุน (2) ปัญหาด้านการแปรรูป/การตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีปัญหามากในเรื่องราคารับซื้อยางไม่เหมาะสม (3) ปัญหาด้านส่งเสริม สนับสนุน ผู้ตอบแบบสอบถามมีปัญหามากในเรื่องขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่เพียงพอ โดยสภาพปัญหาและอุปสรรคทั้งสามด้านมีความสัมพันธ์กับความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไปในทิศทางเดียวกัน

การวิเคราะห์ความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ซึ่งประกอบด้วย (1)ด้านความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการมากในเรื่อง การขายผลผลิตจากยางพารา (2) ด้านการให้บริการ สนับสนุน ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต การดูแลรักษา และการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการมากในเรื่องการประกันราคาผลผลิต การให้สินเชื่อการลงทุน(เงินทุน) การสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ย แหล่งให้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับยางพารา แหล่งปรึกษาปัญหาการทำสวนยางพารา การจัดให้มีตลาดกลางรับซื้อผลผลิต การรวมกลุ่มเพื่อการเกษตร แหล่งรับซื้อผลผลิต การสนับสนุนปัจจัยการผลิตเกี่ยวกับยากำจัดวัชพืช อุปกรณ์กรีดยาง อุปกรณ์แปรรูปผลผลิต การฝึกอบรม แนะแนวเกี่ยวกับการทำสวนยางพารา และแหล่งซื้อปัจจัยการผลิต

DOWNLOAD : Needs Assessment Study of Para Rubber Tree Growers in Cha – Uat District, Nakorn Sri Thammarad Province

Comments are closed.