โดย สุกัญญา บุญศรี, สิริลักษณ์ หาญวัฒนานุกุล, ประนอม พันธ์ไสว, เกียรติศักดิ์ ส่องแสง และอังค์วรา วงษ์รักษา

ปี 2553

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อพัฒนาแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาชีพครูที่ใช้ในการสำรวจ คัดกรอง ผู้เรียนที่มีความสามารถความถนัด หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในช่วงชั้นที่ 3 เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนาร่องทางวิทยาศาสตร์นวัตกรรมและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ (try out) ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษาที่ใช้และหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบวัดฉบับละ จานวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลจริงซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นรวม 536 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ จานวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ แบบวัดความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพครู ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มีลักษณะปรนัยแบบเลือกตอบจานวน 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าสถิติพื้นฐานประกอบด้วย ค่าสูงสุด (Max) ค่าต่ำสุด (Min) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเบ้ (Sk.) ค่าความโด่ง (Ku.) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SEM) และวิเคราะห์ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) และความเชื่อมั่น โดยใช้ค่า KR – 20 คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder – Richardson Formula) รวมทั้งนาข้อมูลที่รวบรวมได้ในแต่ละครั้งมาวิเคราะห์แบบวัดรายข้อ (Item Analysis) เพื่อคำนวณหาค่าความยากของแบบวัด (Item Difficulty) และอำนาจจำแนกของแบบวัด (Item Discrimination) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพทั้ง 5 ฉบับ เรียงตามลาดับดังนี้ 1) แบบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 19.62 โดยมีค่าสูงสุด 31 ต่ำสุด 5 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 ซึ่งอยู่ในระดับสูง 2) แบบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 18.03 โดยมีค่าสูงสุด 36 ต่ำสุด 5 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 ซึ่งอยู่ในระดับสูง 3) แบบวัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 17.75 โดยมีค่าสูงสุด 28 ต่ำสุด 6 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .54 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 4) แบบวัดความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 21.76 โดยมีค่าสูงสุด 31 ต่ำสุด 12 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .57 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และ 5) แบบวัดความถนัดทางวิชาชีพครู พบว่ามีค่าเฉลี่ย 21.40 โดยมีค่าสูงสุด 32 ต่ำสุด 12 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .61 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง

2. ผลการหาคุณภาพด้านความยากง่ายและอำนาจจำแนกของแบบวัดความถนัดทั้ง 5 ฉบับพบว่าแบบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .88 ความยากง่ายเฉลี่ยปานกลาง และความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง .26-.65 และอำนาจจำแนกดี อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21- .85 โดยมีข้อสอบที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมตามเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ แบบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .82 ความยากง่ายเฉลี่ยปานกลาง และความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง .33 -.79 และอำนาจจำแนกดี อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .23-.91 โดยมีข้อสอบที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 33 ข้อ แบบวัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่น .54 ความยากง่ายเฉลี่ยปานกลาง และความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.80 และจำแนกพอใช้ได้ อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20- .59 โดยมีข้อสอบที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 22 ข้อ แบบวัดความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .57 ความยากง่ายเฉลี่ยปานกลาง และความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง .39-.80 และจำแนกพอใช้ได้ อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .24- .62 โดยมีข้อสอบที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 20ข้อ แบบวัดความถนัดทางวิชาชีพครู มีค่าความเชื่อมั่น .61 ความยากง่ายเฉลี่ยปานกลาง และความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง .25-.79 และอำนาจจำแนกพอใช้ได้ อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21- .79 โดยมีข้อสอบที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 25 ข้อ

DOWNLOAD : การพัฒนาแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ