Politial participation of Rajamangala University of Technology Thanyaburi students 

โดย เอื้ออารี เศรษฐวานิช

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาและเข้าใจสภาพพื้นฐานทั่วไปของประสบการณ์ การศึกษาเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การชุมนุมและการร้องเรียนและตรวจสอบ การทดสอบความแตกต่างของการ มีส่วนร่วมทางการเมือง รวมทั้งความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 10 คณะ วิชาชีพและ 1 วิทยาลัย โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 คน เป็นแบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ เป็นค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาของแบบสอบถาม ค่า ความเชื่อมั่น ค่าสถิติ (t-test) ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of variance: ANOVA) คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS 13 แสดงผลด้วยตารางประกอบคำบรรยาย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมืองระดับ นานๆ ครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-21 ปี ได้รับความรู้ จากการศึกษาวิชาการเมืองการปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรีเป็นบางโอกาส ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อโทรทัศน์และนักศึกษาร้อยละ 81% มีความสนใจที่จะติดตามข่าวสารทางการเมือง สำหรับการมีส่วนร่วมด้านการเลือกตั้ง ด้านการ แสดงความคิดเห็นมีระดับนาน ๆ ครั้ง ส่วนด้านการชุมนุมและการร้องเรียนและตรวจสอบไม่เคยมี ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการ เลือกตั้ง การชุมนุม การแสดงความคิดเห็นและการร้องเรียนและตรวจสอบแตกต่างกัน แต่ด้านการ แสดงความคิดเห็นมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกันนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18-19 ปี มีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการเลือกตั้ง การชุมนุม การแสดงความคิดเห็น และการร้องเรียนและตรวจสอบ แตกต่างกับนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 20 – 21 ปีและอายุ 21 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 20-21 ปี ก็มีความแตกต่างกับนักศึกษาที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 นักศึกษาที่กำลังศึกษาในคณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมมีส่วน ร่วมทางการเมืองในด้านการเลือกตั้ง การชุมนุม การแสดงความคิดเห็นและการร้องเรียนและ ตรวจสอบ แตกต่างกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและคณะ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีส่วนร่วมทางการ เมืองด้านการเลือกตั้ง การชุมนุม การแสดงความคิดเห็นและการร้องเรียนและตรวจสอบ แตกต่างกับ นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ,3 และ4 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ก็มีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการ เลือกตั้งแตกต่างกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักศึกษาที่มี ภูมิลำเนาต่างกัน กลับมีส่วนร่วมในด้านการเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการ ร้องเรียนและตรวจสอบไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธกับนักศึกษาที่นับถือศาสนา อิสลามมีส่วนร่วมทางการเมืองในด้านการชุมนุมและด้านการร้องเรียนและตรวจสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งนักศึกษาที่เคยศึกษาและไม่เคยศึกษาวิชาการเมืองการ ปกครอง มีส่วนร่วมทางการเมืองในด้านการเลือกตั้ง การชุมนุม การร้องเรียนและตรวจสอบไม่ แตกต่างกัน ส่วนด้านการแสดงความคิดเห็น นักศึกษาที่เคยศึกษาวิชาการเมืองการปกครอง กลับมี ส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่เคยศึกษาวิชาการเมืองการปกครอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

This study aimed to study the general background, political experience which had the effect on the participation in politics, the election, expressing opinion, demonstration, complaint, investigation, the difference of political participation and the opinion on the development of political participation of Rajamangala University of Technology Thanyaburi students. The population was the first year students from 10 faculties and 1 college. This study was a quantitative research using multi-stage sampling for 392 samples. The instrument was a questionnaire which was analysed by employing percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance:Anova and SPSS 13. The results showed that most of the respondents were male aged between 20-21 years old. These students studied Thai Politics and Government Course. They had the chance to participate in the Rajamangala University of Technology Thanyaburi Students Union election and they received the political information from television. Over a half of the students were interested in political news. In terms of political participation, they seldom expressed their opinion. In addition, they never participated in the political demonstration, complaint or investigation. There was a difference between male and female students on the political election, demonstration, expressing opinion, complaint and investigation while there was no difference on expressing opinion. It was also showed that the statistical significant difference at 0.5 fell on the political participation of the students aged 18-19, the different faculty, the year of studying and the experience of studying Thai Politics and Government Course.

DOWNLOAD : การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี