The Satisfaction with the use of Voice over Internet Protocol: Case Study National Electronics and Computer Technology Center

โดย อัจฉรา จิรเสถียรพร

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทัศนคติของผู้ใช้บริการเพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำเอาระบบ VoIPมาใช้สำหรับองค์กรที่มีสถานที่ปฏิบัติงานหลายสถานที่ และ ผู้ให้บริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ VoIP ได้รับทราบผลการศึกษาทัศนคติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน โดยทดสอบสมมติฐานปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับหน้าที่ความรับผิดชอบสถานที่ปฏิบัติงาน หน่วยงานสังกัด มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้โทรศัพท์ระบบ VoIP และทัศนคติที่มีผลต่อความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาคาร โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างศึกษาจำนวน 163 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน Independent t-test และ One Way Anovaประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มงานสนับสนุน/บริการ และทราบวิธีการใช้งานจากเพื่อนร่วมงานมากกว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่น โดยกลุ่มผู้บริหารมีความพึงพอใจจากทีมงานสนับสนุนและแก้ไขปัญหาแตกต่างจากกลุ่มงานสนับสนุน/บริการ และกลุ่มนักวิจัย/นักวิชาการ เพราะการบริการแบ่งแยกตามระดับกลุ่มการทำงานซึ่งการให้บริการที่ดีแก่กลุ่มผู้บริหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ ทัศนคติความเพียงพอของจำนวนคู่สายการใช้งานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเพราะปัจจุบันมีจำนวนคู่สายเพียง 4คู่สาย แต่รองรับการทำงานทั้งเนคเทค ซึ่งอาจส่งผลต่อความแออัดของคู่สายที่มีการใช้งานมากที่สำคัญหากไม่มีการแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุการขัดข้อง ระยะเวลาที่แก้ปัญหาเสร็จในแต่ละครั้งอาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดทัศนคติที่ไม่ดี และไม่พึงพอใจ อย่างไรก็ตาม ควรมีการเก็บสถิติการใช้งานโทรศัพท์ระบบ VoIP เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนการใช้งาน และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

DOWNLOAD : The Satisfaction with the use of Voice over Internet Protocol: Case Study National Electronics and Computer Technology Center