A Single Screw Vegetable Oil Press Machine

โดย ชลิตต์ มธุรสมนตรี ชวลิต แสงสวัสดิ์ ศิวกร อ่างทอง และ ประจักษ์ อ่างบุญตา

ปี 2548

บทคัดย่อ (Abstract)

น้ำมันพืชโดยทั่วไป ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยการสกัดที่ต้องใช้สารเคมีมาใช้ในกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีลักษณะและคุณภาพดี ผลิตได้รวดเร็ว มีต้นทุนต่ำ แต่กระบวนการการบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดพืชโดยตรง เป็นทางเลือกใหม่ที่จะทำให้ได้น้ำมันพืชที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างอื่นๆ และผู้บริโภคสามารถรับประทาน ได้อย่างปลอดภัยคณะผู้จัดทำโครงการ จึงได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องบีบอัดน้ำมันจากเมล็ดพืชแบบเกลียวเดี่ยว ตลอดจนศึกษาสภาวะการทำงานที่เหมาะสม โดยได้ทำการทดลองบีบอัดวัตถุดิบจำนวน5 ชนิด คือ เมล็ดทานตะวันกะเทาะเปลือก เมล็ดงาขาว เมล็ดถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง และเนื้อมะพร้าวขูดตากแห้ง โดยนำวัตถุดิบไปบีบอัดที่ความเร็วรอบของเกลียวแตกต่างกัน พร้อมกับเลือกขนาดช่องคายกากที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันด้วย ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเฟสเดียว ขนาด 1.5 แรงม้า ทดรอบด้วยเฟืองขนาดอัตราทด 1:7 เป็นตัวส่งกำลังขับชุดเกลียวบีบอัด และสามารถปรับค่าความเร็วรอบของมอเตอร์ด้วยอินเวอร์เตอร์จากการศึกษาได้ใช้ความเร็วรอบของเกลียวบีบอัด 5 ระดับ และกำหนดขนาดของช่องคายกากเป็น 4 ขนาด พบว่าเมล็ดทานตะวันกะเทาะเปลือกที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด8 มิลลิเมตร เมล็ดงาขาวที่ความเร็วรอบ 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด 10 มิลลิเมตร เมล็ดถั่วลิสงที่ความเร็วรอบ 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด 10 มิลลิเมตร เมล็ดฟักทองที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาทีช่องคายกากขนาด 8 มิลลิเมตร และเนื้อมะพร้าวขูดตากแห้งที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาที ช่องคายกาก14 มิลลิเมตร ได้ปริมาณน้ำมันมากที่สุด คือ 53 41 28 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ และได้อัตราการผลิต2.10 1.70 0.75 2.20 และ 5.52 กิโลกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ทั้งนี้ได้ควบคุมอุณหภูมิของน้ำมันขณะบีบอัดต้องไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของน้ำมันให้มี สี กลิ่น รส และคุณสมบัติด้านโภชนาการอยู่ครบถ้วนตามธรรมชาติ

Download

 

Comments are closed.