โดย จุฑาภรณ์ ยอดเสนีย์

ปี 2563


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ ด้านการเรียน ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านอารมณ์แต่ละบุคคล และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา สาขาวิชาที่กำลังศึกษา ผลการเรียนสะสมก่อนเข้าศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ระบบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่พักอาศัยปัจจุบัน และแหล่งเงินทุนทางการเรียน ที่มีผลต่อระดับการปรับตัวของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ ใช้ระบบ QR-Code ในการเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และสถิติสำหรับการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบ รายคู่ในกรณีที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษาพบว่า

1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1,228 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นฐานการศึกษาก่อนเข้าศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยหลักสูตร 4 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) และสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ส่วนใหญ่มีผลการเรียนก่อนเข้าศึกษา ระหว่าง 3.01 – 3.50 จำนวน 499 คน คิดเป็นร้อยละ 40.64 ส่วนใหญ่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี ระหว่าง 2.51 – 3.00 จำนวน 410 คิดเป็นร้อยละ 33.39 ระบบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย 3 อันดับได้แก่ TCAS 1 จำนวน 321 คน คิดเป็นร้อยละ 26.14 รองลงมาคือ TCAS 3 จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 22.23 และ TCAS 2 จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 17.35 ตามลำดับ นักศึกษาส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในหอพักทั้งภายใน และนอก มหาวิทยาลัย จำนวน 608 คน คิดเป็นร้อยละ 49.51 รองลงมาพักอาศัยกับผู้ปกครอง บิดา มารดา จำนวน 588 คน คิดเป็นร้อยละ 47.88 และ พักอาศัยกับญาติพี่น้อง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 2.61 ตามลำดับ สำหรับแหล่งเงินทุนทางการเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้แหล่งเงินทุนการเรียนจากผู้ปกครอง จำนวน 863 คน คิดเป็นร้อยละ 70.28 รองลงมาเป็นใช้แหล่งเงินทุนการเรียนจากผู้ปกครอง ร่วมกับกองทุนกู้ยืม (กรอ./กยศ.) จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 13.68 และ ใช้แหล่งเงินทุนการเรียนจากผู้ปกครอง ร่วมกับทำงานหารายได้ด้วยตนเอง จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 7.33 ตามลำดับ

2. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัย การปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 ในด้านการเรียนเป็นอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.04 รองลงมาได้แก่ การปรับตัวด้าน การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย 3.87 การปรับตัวด้านอารมณ์แต่ละบุคคล มีค่าเฉลี่ย 3.82 และการปรับตัวด้านมนุษยสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 3.65 ตามลำดับ

3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 กับปัจจัยการปรับตัวของนักศึกษา พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ปัจจัย คือ เพศ สาขาวิชาที่กำลังศึกษา ผลการเรียนสะสมก่อนเข้าศึกษา ผลการเรียนสะสมระดับปริญญาตรี ระบบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่พักอาศัยปัจจุบันแหล่งเงินทุนทางการเรียนที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยปัจจัยการปรับตัวของนักศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

This study aims to study adjustment level in terms of education, human relations, individual emotion, and university activity participation of students in 1st year bachelor’s degree level with 4-year course and academic-year-2020 regular semester admission of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi and to study the differences of personal factors including gender, domicile by birth, educational background, current field of study, cumulative grades before admission, cumulative grade point average for the 2nd semester of academic year 2020, university admission system, current residence, and educational funding sources affecting the adjustment level of students in 1st year bachelor’s degree level with 4-year course and academic-year-2020 regular semester admission of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The study population were 1,228 students in 1st year bachelor’s degree level with 4-year course and academic-year-2020 regular semester admission of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The tool used to collect data was an online questionnaire using the QR-Code system. The statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean (μ), and standard deviation (σ). The statistics for the hypothesis testing were independent samples t-test, One-way ANOVA with a pairwise test using fisher’s least significant difference in case of variance differed statistically.

The results showed that

1. Most of 1,228 the students in 1st year bachelor’s degree level of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi were female, resided by domicile by birth in Bangkok and Metropolitan area, were from two education program groups including high school (grade 6) and vocational certification, earned cumulative grades before admission as of 3.01 – 3.50 (499 persons and 40.64%), cumulative grade point average for bachelor’s degree level as of 2.51 – 3.00 (410 persons and 33.39%), passed through 3 university admission systems including TCAS 1 (321 persons and 26.14%), TCAS 3 (273 persons and 22.23%), and TCAS 2 (213 persons and 17.35%), respectively. Students mostly stayed at dormitories from both inside and outside university (608 persons and 49.51%), followed by staying with parents (588 persons and 47.88%), and staying with relatives (32 persons and 2.61%), respectively. For educational funding sources, the students were funded by parents (863 persons and 70.28%), combination between parent funding and student loan funding (168 persons and 13.68%), combination between parent funding and extra work earning (90 persons and 7.33%), respectively.

2. Students had opinion towards adjustment factors of the students in 1st year of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi during academic year of 2020 by raking education as the first place with mean score as of 4.04, followed by university activity participation with mean score as of 3.87, individual emotion with mean score as of 3.82 and human relations with mean score as of 3.65, respectively.

3. Analysis of personal factors and adjustment factors of the students in 1st year of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi duing academic year of 2020 found that different 7 personal factors including gender, current field of study, cumulative grades before admission, cumulative grade point average of bachelor’s degree, university admission system, current residence, and educational funding sources yielded different degree of students’ adjustment at the statistically significant level as of 0.05.


Download : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2563