Computer-assisted instruction based on GCC concept in the English subject for vocational students

โดย ภัสนันท์ ญาณสูตร

ปี 2562


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ และ 3) หาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 30 คน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 81.67/80.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คือ 8.03 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คือ 24.50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 2.75 ค่าทดสอบก่อนและหลังเรียนมีค่า 16.47 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก


Abstract

The aims of the research were to: 1) find the efficiency of the Computer Assisted Instruction (CAI) based on the GCC concept in English subject for vocational students., 2) the results of pre and post achievement test of students learning from the CAI., and 3) find the satisfaction of vocational students taking the CAI.

The subjects of this research were 30 vocational students taking English subjects in the first semester of the academic year 2017 at Saraburi Technical College. The research instruments were the CAI for vocational students, pre-test and post-test, and a satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for a dependent sample.

The result of the study showed that the CAI had an efficiency of 81.67/80.33. The achievement of the students before learning with the CAI for vocational students was 8.03, and the standard deviation value was 1.00. The average scores after learning with the CAI for vocational students were 24.50, and the standard deviation value was 2.75 t-test values between before and after learning were 16.47, and it was significantly different at the 0.05 level. The satisfaction of the vocational students toward the CAI was at a high level.


Download : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกรอบแนวคิดจีซีซี วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ