Perceived organizational culture and organizational factors affecting employee performance: a case study of S.A. Precision Company Limited

โดย สุรเสกข์ พินราช

ปี 2562


บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สาขาที่สำเร็จการศึกษา ระดับรายได้ อายุงาน ที่แตกต่างกันต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กรและการรับรู้วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือพนักงานของบริษัท เอส. เอ พรีซิชั่น จำกัด ที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ จังหวัด ชลบุรี ที่กำลังทำงานอยู่ปัจจุบัน 231 คน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดลงมาถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน t-test, One-way ANOVA และสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมุติฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ขณะเดียวกันผลการเปรียบเทียบ พบว่า เพศ ระดับรายได้ และประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน ตลอดจนการรับรู้วัฒนธรรมและปัจจัยด้านองค์กร มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ABSTRACT

The objectives of this independent study were to: 1) study the level of perception of cultural factors, organizational factors, and employee performance, 2) compare personal factors namely gender, education level, study field, income levels, and working experience that influenced the performance of employees, and 3) study organizational factors and cultural perceptions affecting employee performance.

The samples included 231 employees working in the position of the highest management level down to the operational level staff in S.A. Precision Co., Ltd. at Amata City in Chonburi province. The research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics; i.e. standard deviation, inferential statistics including t-test, One-way ANOVA, and multiple regression to test the hypothesis.

The study results revealed that perception of cultural factors, organizational factors, and overall employee performance were at the highest level in all aspects. The comparison of personal factors showed that gender, income levels, and working experience influenced the performance of employees. The organizational factors and the cultural perceptions affected the employee performance at the statistical significance level of 0.05.


Download : Perceived organizational culture and organizational factors affecting employee performance: a case study of S.A. Precision Company Limited