Efficiency improvement of warehouse management by FNS analysis: a case of XYZ company in the printing industry

โดย เจนรตชา แสงจันทร์

ปี 2562


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการคลังสินค้า 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการคลังสินค้า 3) เพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้า 4) เพื่อลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้า

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าคลังสินค้า, พนักงานคลังสินค้าและพนักงานบัญชี จำนวน 5 คนโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บรวบรวม

ผลการศึกษาพบว่า การนาใช้เทคนิควิเคราะห์หาเหตุ (Why Why Analysis) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการคลังสินค้า ใช้แผนภูมิการไหล (Flow Process Chart) โดยการพิจารณาขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีความซ้ำซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาสามารถลดเวลาการปฏิบัติงานได้ 4 นาที 10 วินาที วิเคราะห์ปัญหาโดยแยกหัวข้อโดยวาดแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) การจัดตำแหน่งสินค้าโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) โดยเรียงลำดับรายการสินค้าที่มีอัตราการหมุนเวียนสูงไปหาต่ำ โดยสินค้าประเภทกลุ่ม F มีจานวนทั้งหมด 13 รายการ มีมูลค่ารวม 3,381,302 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 48.59 ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้าประเภทกลุ่ม S มีจานวนทั้งหมด 17 รายการ มีมูลค่ารวม 2,096,665 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.13 ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้าประเภทกลุ่ม N มีจำนวนทั้งหมด 147 รายการ มีมูลค่ารวม 1,480,537 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.28 ของจำนวนรายการทั้งหมด และเปรียบเทียบก่อน-หลังการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) ทำให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบสินค้าลดลง 15.05 วินาที การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าแบบเอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) สามารถลดระยะทางในหยิบสินค้าและง่ายต่อการเบิกจ่ายสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่คลังสินค้าและสุดท้ายคือการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) ร่วมกับทฤษฎีการเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) โดยใช้ป้ายบ่งบอกสินค้าและกำหนดสีตาม 4 ไตรมาส ควบคุมอายุของสินค้าป้องกันการเกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า


ABSTRACT

The objectives of this research were 1. to study the warehouse management process, 2. to study the problems and obstacles of warehouse management, 3. to reduce the distance of moving goods, and 4. to shorten the time of searching for goods.

The samples used in this research were 5 people. These five people included a warehouse supervisor, warehouse clerks, and accountants. The research instrument used to collect data was and in-depth interview.

The research used Why Why Analysis to study the problems that occurred in warehouse management. The study used flow process charts to consider procedures that were redundant and ineffective. The study results showed that operating times could be reduced by 4 minutes 10 seconds. The problems were analyzed by separating the topics and by drawing a Fishbone Diagram. Product alignment used FSN analysis by sorting products with high to low turnover rates. There were 13 items in the group F category, with a total value of 3,381,302 baht or 48.59 percent of the total number of items. There were 17 items in the group S category, with a total value of 2,096,665 baht or 30.13 percent of the total number of items. There were 147 items in the group N, with a total value of 1,480,537 baht or 21.28 percent of the total number of items. There was a comparison before and after FSN analysis, resulting in a reduced average picking time of 15.05 seconds. FSN analysis could reduce the distance in picking and could make it easier to disburse the goods to maximize efficiency for the warehouse. Finally, the study showed that visual control combined with FIFO theory, using product labels and color-coding could help control the shelf life and products and prevent storage costs.


Download : Efficiency improvement of warehouse management by FNS analysis: a case of XYZ company in the printing industry