The effects of attitudes towards on the participation in sustaining food safety management system FSSC 22000: A case study of food industrial

โดย ศิริพร นาคย่านยาว

ปี 2561


บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับเจตคติต่อระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการรักษาระบบ FSSC 22000 และ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลและเจตคติที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมรักษาระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 อย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในบริษัทที่ได้รับการรับรองระบบ FSSC 22000 ในจังหวัดปทุมธานี และนิคมอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 360 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference และ Multiple linear regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 26-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาที่ทางาน 1-5 ปี และสังกัดหน่วยงานประกันคุณภาพ มีระดับ เจตคติด้านความรู้ความเข้าใจต่อระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 ในระดับมากที่สุด และด้านความรู้สึกอยู่ในระดับดี มีระดับการมีส่วนร่วมในการรักษาระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 อยู่ในระดับดี

ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ทำงาน และหน่วยงานที่สังกัด ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมรักษาระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 แตกต่างกัน ส่วนเจตคติด้านความรู้สึกมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการรักษาระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 อย่างยั่งยืน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


Abstract

The objectives of this independent study were to explore: 1) the employees’ attitude level towards the management system of Food Safety System Certificate (FSSC22000), 2) the levels of participation in sustaining FSSC 22000, and 3) the effects of personal factors and attitudes towards the participation in sustaining the management system of FSSC 22000. The sample group was 360 employees in the companies that are certified with FSSC 22000 in Pathum Thani province and Rojana Industrial Estate in Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The questionnaire was used to collect data using purposive and proportional sampling methods.Statistical techniques used to perform data analysis were descriptive statistics including percentage, frequency, mean, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, LSD, and Multiple Linear Regression at a statistical significance level of 0.05.

The research results were found that most of the respondents were females, aged between 26-35, graduating with bachelor’s degree and having 1-5 years of working experience at the quality assurance department. The cognitive component of attitudes towards the management system of FSSC 22000 was at the highest level. The affective component was at a high level and the level of participation in sustaining the management system of FSSC 22000 was at a high level as well.

The results of the hypothesis testing revealed that age, level of education, work experience and the quality assurance department had different effects on participation in sustaining the management system of FSSC 22000. The affective component of attitudes has an influence on participation in sustaining the management system of FSSC 22000 at a statistical significance level of 0.05.

 

Downloadผลของเจตคติต่อการมีส่วนร่วมในการรักษาระบบบริหาร ด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหาร