The development of denim fabric structure by Pha Yok Nakhon weaving technique                       

โดย จุฑามาศ ขุนไชยการ

ปี 2561 


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของผ้าเดนิมและผ้ายกนคร โครงสร้างการทอผ้ายกเดนิมนครด้วยเทคนิคการทอผ้ายกนคร สมบัติทางกายภาพของผ้ายกเดนิมนคร และความคงทนของสีต่อการซักล้างของผ้ายกเดนิมนครหลังจากการฟอก

วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มีการออกแบบสิ่งทดลองและทอผ้ายกเดนิมนครด้วยเส้นด้าย 3 ชนิด เปรียบเทียบสมบัติกายภาพผ้ายกเดนิมนคร ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสิ่งทดลองด้วย Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษา สมบัติทางกายภาพของผ้าเดนิมและผ้ายกนคร พบว่า เส้นด้ายผ้าเดนิมมีขนาดใหญ่กว่าเส้นด้ายผ้ายกนคร และผ้าเดนิม มีความแข็งแรงต่อแรงดึงขาด ความแข็งแรงต่อแรงฉีกขาด จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวในแนวเส้นด้ายยืน และน้ำหนักผ้ามากกว่าผ้ายกนคร สมบัติทางกายภาพของเส้นด้ายผ้าเดนิมและผ้ายกนครในด้านขนาด ความแข็งแรงและแรงดึงขาด และสมบัติทางกายภาพของผ้าเดนิมและผ้ายกนครในด้านความแข็งแรงต่อแรงดึงขาด ความแข็งแรงต่อแรงฉีกขาดในแนวเส้นด้ายยืน น้ำหนักผ้า จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โครงสร้างการทอผ้ายกเดนิมนคร พบว่า ผ้ายกเดนิมนคร มีลวดลายดอกพิกุล มีความประณีต เอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น สมบัติทางกายภาพของผ้ายกเดนิมนครที่ทอจากเส้นด้าย 3 ชนิด พบว่า เส้นด้ายพอลิเอสเตอร์ มีขนาดใหญ่และความแข็งแรงต่อแรงดึงขาดมากที่สุด ผ้ายกเดนิมนครพอลิเอสเตอร์มีความแข็งแรงต่อแรงดึงขาดในแนวเส้นด้ายพุ่ง น้ำหนัก และความหนามากที่สุด สมบัติทางกายภาพในด้านจำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวในแนวเส้นด้ายพุ่ง พบว่า ผ้ายก เดนิมนครฝ้าย มีจำนวนเส้นด้ายมากที่สุด สมบัติทางกายภาพของเส้นด้ายผ้ายกเดนิมนครในด้านขนาด และความแข็งแรงและแรงดึงขาด และสมบัติทางกายภาพของผ้ายกเดนิมนครในด้านความแข็งแรงต่อแรงดึงขาด และน้ำหนักผ้ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนความคงทนของสีต่อการซักล้างของผ้ายกเดนิมนครหลังจากการฟอก พบว่า ผ้าทั้ง 3 ชนิด มีสีซีดจางลงเล็กน้อยและสีตกติดน้อย อยู่ในระดับ 4.5


Abstract

The objectives of this research were to examine the physical properties of denim fabrics and Pha Yok Nakhon fabrics, to investigate the Pha Yok Denim Nakhon fabric weaving structure with Pha Yok Nakhon weaving techniques, and to study the physical properties of Pha Yok Denim Nakhon fabrics and its color fastness to the washing after bleaching.

The experiment was carried out by means of Completely Randomized Design (CRD). Three types of yarns were used in the weaving of Pha Yok Denim Nakhon fabrics. The physical properties of the fabric were then statistically analyzed and compared by means of ANOVA and Least Significant Difference (LSD).

Concerning the physical properties of denim fabric and Pha Yok Nakhon, it was found that denim fabric yarn was larger and had greater strength against tension and tearing. The number of yarns per unit length in the yarn strand and the weight of denim fabric were larger. The differences of the physical properties between denim fabric and Pha Yok Nakhon in terms of strength and tensile strength, tensile strength in yarn stand, fabric weight, and the number of yarns per unit length were statistically significant at the level of 95%. Concerning the structure of Pha Yok Denim Nakhon, it was found that its Pikul flower pattern was a unique local identity. Concerning the weaving with the three types of yarns, it was found that polyester yarns resulted in the largest and most tensile strength, a strong tensile strength in the direction of the weight and thickness of the yarn, and bigger number of yarns per unit length. These differences in terms of fabric strength of tensile strength and weight were statistically different at the level of 95%. It was also found that the color of the fabric from the three types of yarns appeared to be paler at the level of 4.5 after bleaching.

 

Downloadการพัฒนาโครงสร้างผ้าเดนิมด้วยเทคนิคการทอผ้ายกนคร