Guidelines for the development of elementary-student support system in small schools under the office of Pathum Thani educational service area

โดย ปรมาภรณ์ สนธิ

ปี 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี และ 2) หาแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูประจำชั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการส่งต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการคัดกรองนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า สถานศึกษามีการรวบรวมข้อมูลด้านความสามารถพิเศษของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า สถานศึกษามีการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้สอดคล้องต่อนโยบายสถานศึกษา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบว่า สถานศึกษามีการช่วยเหลือดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาอย่างใกล้ชิด และด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่านักเรียนที่ส่งต่อได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและรวดเร็ว

ABSTRACT

This study aimed 1) to identify the elementary-student support system in small schools under the Office of Pathum Thani Educational Service Area, and 2) to find out their guidelines for the development of elementary-student support system.

Population in this research was 273 administrators and class teachers working in small schools under the Office of Pathum Thani Educational Service Area. The research instruments were a questionnaire and an interview form. The statistics for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The major findings indicated that 1) the respondents’ opinions on overall and individual aspects of the elementary-student support system operation in small schools under the Office of Pathum Thani Educational Service Area were at a high level. When individual aspects were considered, it was found that the student transfer gained the highest scores, followed by the recognition of individual students, while the student screening had the lowest scores; and 2) according to the guidelines for the development of the elementary-student support system in small schools, it was found that, on the recognition of individual students, the schools had systematic data collection of individual students’ talents. For the student screening aspect, the schools analyzed students’ data from the systematic data collection. When considering the promotion and development of students, school activities to promote and develop students were in accordance with school policy. For the prevention and resolution aspect, the schools intensively took care of risk and problem students. Finally, for the student transfer aspect, the transferred students received accurate and prompt assistances.

 

Downloadแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี