The production of motion graphics to promote knowledge and attitudes toward stroke prevention

โดย กมลทิพย์ รุ่งประเสริฐ

ปี 2561


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ก่อนและหลังการรับชมสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการรับชมสื่อโมชั่นกราฟิก และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบสื่อทางด้านภาพ รูปแบบอักษร สีและเสียงบรรยายแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสม จากนั้นนำองค์ประกอบที่ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกทดลองเบื้องต้นกับกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน ผู้วิจัยประมวลผลจากกลุ่มทดลองแล้วจึงผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกความยาว 3.31 นาที ขั้นตอนที่ 2 การประเมินผลสื่อโมชั่นกราฟิกกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถามทัศนคติและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรู้ก่อนการรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.47 และระดับความรู้หลังการรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.10 ผลการเปรียบเทียบคะแนนระดับความรู้ก่อนและหลังการรับชมสื่อของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองก่อนการรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 หมายถึงมีทัศนคติเป็นกลาง และทัศนคติต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหลังการรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 หมายถึงมีทัศนคติเชิงบวกอย่างมาก ผลการเปรียบเทียบคะแนนทัศนคติก่อนและหลังการรับชมสื่อของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.83 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด


ABSTRACT

The objectives of this research were to: study the process of producing “Stroke” motion graphics; compare knowledge before and after watching “Stroke” motion graphics; compare attitudes toward stroke prevention before and after watching motion graphics; and study the satisfaction toward “Stroke” motion graphics.

Data were collected through the following steps. Firstly, the motion graphics were produced step by step: the information about media elements i.e. images, fonts, colors and narration were studied; and proper elements were then selected by experts. Those selected elements were primarily tested with the experimental group (n=15); and the results were processed to produce 3.31-minute motion graphics. Secondly, the developed motion graphics were evaluated by the sample group. Thirty samples at risk of stroke were selected by purposive sampling. Data were collected through a knowledge test, and questionnaires asking about attitudes and satisfaction. Statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, and paired samples t-test.

The results indicated that before watching the developed media, the mean score of their knowledge was 5.47 while that of after watching was 9.10. Both were different at a statistically significant level of .05. The mean score of their attitudes toward stroke prevention before watching the motion graphics was at a moderate level of 3.39. After watching the developed media, the mean score was at a strongly positive level of 4.36. Accordingly, its statistically significant difference was at .05. Finally, the level of their satisfaction toward the developed motion graphics was at the highest level of 4.83.

 

Downloadการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อส่งเสริมความรู้และทัศนคติต่อการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง