Public relations media in augmented reality for tourism in Phra Nakhon Si Ayutthaya province

โดย สุวิมล คำสุวรรณ

ปี 2560


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสานักงานประกันสังคมต่อความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานและสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้ประกันตน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบที่มีต่อสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสำนักงานประกันสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Dependent Samples t-test และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกันตนมีความเข้าใจในด้านเนื้อหาภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X=4.14, S.D = 0.45) และเข้าใจในด้านการการออกแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.37, S.D = 0.46) ผลการเปรียบเทียบความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสานักงานประกันสังคม พบว่า เพศหญิงมีความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบมากกว่าเพศชาย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจ ในเนื้อหาและการออกแบบไม่แตกต่างกัน


Abstract

This research aimed to study the effectiveness of the online infographics poster media of the Social Security Office for the perception of the content and the design of benefits for seniors, benefits for unemployment, and benefits for illness and injury.

The samples used in this study were 400 general insurer in Bangkok. They were selected by accidental sampling. The research instrument was a questionnaire of the perception of the content and the design of online infographics poster media of the Social Security Office. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test, and one-way ANOVA.

The research results showed that the content perception of insurers was at the high level as a whole aspect (X=4.14, S.D = 0.45). The design perception of insurers was at the high level as a whole aspect (X= 4.37, S.D = 0.46). The comparison of the content perception and the design perception of the online infographics poster media of the Social Security Office showed that females had much better perception of the content and the design than males. Meanwhile, personal factors such as age, status, educational background, income did not affect the perception of the content and the design of the online infographics poster media.

 

Downloadการศึกษาประสิทธิผลของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสำนักงานประกันสังคม