Production Scheduling Influence on Collaboration Performance and Job Motivation: A Case Study of Fabrinet Company Limited 

โดย พักตร์ประไพ เกียรติอุทัย

ปี 2560

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม 2) ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงาน 3) ปัจจัยด้านการจัดตารางการผลิตที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม และ 4) ปัจจัยด้านการจัดตารางการผลิตที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงาน

กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้างานฝ่ายผลิต วิศวกรควบคุมการผลิต พนักงานจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบจากทุก ๆ หน่วยธุรกิจภายใน บริษัท ฟาบริเนท จำกัด จำนวน 268 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในภาพรวมไม่แตกต่างกัน การทำงานเป็นทีมด้านการมอบหมายการทำงาน มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผย และความขัดแย้งกันในกลุ่มมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวม การจัดตารางการผลิตด้านเวลางานเสร็จสิ้น เวลากำหนดส่ง และเวลาพร้อมทำงานมีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม การจัดตารางการผลิตด้านเวลางานเสร็จสิ้น เวลาพร้อมทำงาน และเวลากำหนดส่ง มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงาน

The objectives of the case study are to study: 1) personal factors affecting collaboration performance, 2) collaboration performance factors influencing on the job motivation, 3) production scheduling factors influencing on collaboration performance and 4) production scheduling factors influencing on the job motivation.

The surveys of 268 employees of Fabrinet Co., Ltd. including manufacturing supervisors, manufacturing engineers, purchasing officers and Sourcing officers were taken for data analysis. Two types of statistics analyzed were: 1) descriptive statistics including frequencies, percentages, means, and standard deviations and 2) inferential statistics including independent sample t-test, one-way ANOVA, Post Hoc using LSD and Multiple Linear Regression at the statistical significant level of 0.05.

The findings indicated that the personal factors in terms of gender, age, levels of education, job duration and job position did not distinctively affect collaboration performance. The collaboration performance in aspects of work assignment, work discussion, and personal conflict have influenced on the job motivation. Production scheduling in aspects of completion time, due date and release date have influenced the collaboration performance. Production Scheduling aspects of completion time, release date, and due date have influenced the job motivation.

Download : Production Scheduling Influence on Collaboration Performance and Job Motivation: A Case Study of Fabrinet Company Limited