Production Infographics: Principles of Packaging Design

จัดทำโดย อภิสร คงสาคร;ชไมภรณ์ ลุสุข

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “หลักการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของเนื้อหาสื่ออินโฟกราฟิก จากผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อศึกษาระดับความเข้าใจที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิก จากกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการศึกษาจัดทำโดยผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “หลักการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์” ทำการประเมินคุณภาพสื่อผ่านแบบประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 2 ด้าน จำนวน 3 คนได้แก่ ด้านเทคนิค จำนวน 2 คน และด้านเนื้อหา จำนวน 1 คน และให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระบบเทียบโอน หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ทำแบบข้อสอบเพื่อวัดระดับความเข้าใจที่มีต่อสื่อ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า สื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “หลักการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์” จากแบบประเมินคุณภาพที่มีต่อสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่า มีผลประเมินระดับ ดีมาก โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 และผลการทำแบบทดสอบเพื่อวัดระดับความเข้าใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างนั้นสามารถเข้าใจกับเนื้อหาในระดับ ดี โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.2 ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สื่ออินโฟกราฟิกสามารถสื่อไปยังผู้ชมให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย โดยจุดเด่นการใช้กราฟิกที่น่าสนใจ และเนื้อหากระชับสามารถดำเนินเรื่องได้อย่างราบรื่น

คำสำคัญ: อินโฟกราฟิก, บรรจุภัณฑ์, การออกแบบ, กระดาษกล่องบรรจุภัณฑ์


คำนิยามศัพท์เฉพาะ

  1. การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมให้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้วัสดุและวิธีการที่เหมาะสม ตามแบบแผนและจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
  2. บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือการบรรจุภัณฑ์ เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
  3. อินโฟกราฟิก หมายถึง ภาพเคลื่อนไหวรูปแบบ 2 มิติที่ประกอบไปด้วยกราฟิก ข้อมูล ภาพ เสียงประกอบ และเอฟเฟคต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจทำให้เข้าใจง่าย เพียงแค่ดูสื่อระยะเวลาจำกัด

ผลงานนักศึกษา