จัดทำโดย ภาคินท์ธนวิท สินธนวัชบุณยากร;รัฐพงศ์ วงษ์สมุทร

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์ เรื่องการศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ 2) ศึกษาคุณภาพไฟที่ได้จากการสร้าง ด้วยเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการนำสื่อเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง

การศึกษาทำโดย ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษและผลิตสื่อการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ ตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน จากนั้นนำสื่อประเมินความพึงพอใจ ด้วยกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ จำนวน 30 คน ทำการแบบประเมินนำมาสรุปด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ จากการประเมินคุณภาพของสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษอยู่ในคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.89 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน พบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.50 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.22 ซึ่งอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน และในการนำเสนอสื่อภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเทคนิคพิเศษ ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของกราฟิกมากขึ้น

ความสำคัญ: เทคนิคพิเศษ, ภาพยนตร์, ไฟ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อการศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ
  2. เพื่อผลิตสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษที่สมจริง
  2. ทราบระดับคุณภาพของการนำสื่อเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อทราบระดับความพึงพอใจจากสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง
  4. ผู้สนใจศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ สามารถเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานได้

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ ด้วยโปรแกรม After Effects เพื่อนำเสนอขั้นตอนในการสร้างไฟดังนี้

    1. สร้าง รูปร่าง (Shape)
    2. จัดทรงรูปร่างเปลวไฟ
    3. ใส่สีไฟให้เสมือนจริง
    4. สร้างเทคนิคพิเศษ (Effects) ควัน สะเก็ดไฟ
    5. ใส่สีไฟให้เสมือนจริง
  2. ขอบเขตด้านเทคนิค
    โปรแกรมในการจัดทำ “การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ” ประกอบด้วยโปรแกรม ดังต่อไปนี้

    1. Adobe After Effects เพื่อสร้างเทคนิคพิเศษ
    2. Adobe Premiere Pro เพื่อเรนเดอร์ผลงาน
    3. Adobe Audition เพื่อนำมาใช้งานในด้านของเสียง
    4. Adobe Photoshop เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือเพื่อเปลี่ยนสี ลบ หรือใช้เอฟเฟกต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ เป็นต้น

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ ปีการศึกษา 2560
  2. กลุ่มตัวอย่าง
    ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน
  3. ผู้เชี่ยวชาญ
    ในการประเมินผลงาน “การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ” โดยแบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินทั้งหมด 2 กลุ่มดังต่อไปนี้

    1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคพิเศษ จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ประกอบอาชีพในด้านการออกแบบ มีประสบการด้านเทคนิคพิเศษ และประกอบอาชีพในด้านที่เกี่ยวข้อง
    2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเสียง 1 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ประกอบอาชีพและประสบการณ์ด้านเสียง

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

  1. วิชวลเอฟเฟกต์ หมายถึง เทคนิคการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรม After Effects ที่มีความเสมือนจริง ประกอบด้วย ไฟ และ ควัน
  2. ไฟ หมายถึง การสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรม After Effects ซึ่งประกอบด้วย การสร้างรูปร่างให้เป็นลักษณะคล้ายหยดน้ำ ใส่เทคนิคพิเศษ ควันไฟ สะเก็ดไฟ และใส่สีให้เสมือนจริงมากขึ้น

ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. ด้านการออกแบบอยู่ในระดับดี 3.67 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า สื่อภาพเคลื่อนไหวออกแบบมาได้น่าสนใจ ภาพภายในสื่อเคลื่อนไหวมีความสมจริง ทำให้สื่อภาพเคลื่อนไหวลื่นไหล การจัดวางตำแหน่งของข้อความในส่วนต่างๆ ชัดเจน สีตัวข้อความ และตัวอักษรภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวโดดเด่นชัดเจน รูปแบบของฟอนต์ที่ใช้อ่านง่ายเป็นไปในทางเดียวกับรูปแบบ
  2. ด้านการเคลื่อนไหวและการนำเสนออยู่ในระดับดี 4.11 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า การเคลื่อนไหวของภาพเคลื่อนไหว ไหลลื่น มีความสวยงาม สามารถเลือกใช้สีของสื่อภาพเคลื่อนไหวได้เหมาะสมเข้าใจได้ค่อนข้างง่าย ทำให้ออกมาได้น่าสนใจสวยงาม
  3. ด้านเสียงอยู่ในระดับดี 3.88.เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า เสียงภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวมีความเหมาะสม ตรงกับรูปแบบของสื่อ เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ตื่นเต้นเช่น เสียงประกอบ เสียงการแตกสลายของภาพ เสียงเอฟเฟค สอดคล้องกับสื่อภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างสื่อ

  1. ด้านเนื้อหาระดับอยู่ในระดับดีระดับดีมาก 4.42 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า เนื้อหา เข้าใจได้ง่ายชัดเจน ดูแล้วสามารถเข้าใจได้ไม่ซับซ้อน
  2. ด้านการออกแบบอยู่ในระดับดีมาก 4.57 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า ด้านการออกแบบที่นำมาใช้มีรูปแบบที่สนใจคล้ายกับฉากเปิดภาพยนตร์ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เคยศึกษาการใช้โปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น การออกแบบมีความแปลกใหม่
  3. ด้านเสียงอยู่ในระดับดี 4.50 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้ แสดงความคิดเห็นว่าเสียงภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวมีความเหมาะสม ตรงกันรูปแบบของสื่อเคลื่อนไหว เสียงในบางจังหวะทำให้รู้สึกสนุกและตื่นเต้น มีการใช้เสียงที่เหมาะสม
  4. ด้านการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับดี 4.52 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดง ความคิดเห็นว่าสามารถเคลื่อนไหวได้ลื่นไหล ฉากต่อเนื่องกันดี มีองค์ประกอบที่หลากหลายแต่สามารถนำมาผสมผสานกันได้ดี
  5. ด้านประโยชน์ที่ได้จากการชมสื่ออยู่ในระดับดีมาก 4.75 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในการสร้างไฟโดยการไม่ใช่ Plug-in และทำได้ไม่ยาก มีความแปลกใหม่ เสนอรูปแบบได้น่าสนใจ มีการผสมผสานหลายอย่างในการทำสื่อภาพเคลื่อนไหว

ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. ด้านการออกแบบ อยากให้มีความหลากหลายในรูปแบบมากกว่านี้ และผสมผสานเอฟเฟคต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการออกแบบที่แปลกใหม่และทันสมัย
  2. ด้านการเคลื่อนไหวและการนำเสนอ เสนอรูปแบบน่าสนใจ แต่สื่อภาพเคลื่อนไหวเร็วเกินไปจึงทำให้ มองรายละเอียดบ้างช่วงที่สำคัญไม่ทัน จึงทำให้ สื่อภาพเคลื่อนไหวสั้น
  3. ด้านเสียง ไม่สนุกสนานตื่นเต้นเท่าที่ควร เสียงบางช่วงไม่เข้ากับจังหวะที่เคลื่อนไหว

ผลงานนักศึกษา