A study of effects of various mordants added to the dye extracted from litsea glutionosa(Lour) leaves on color shades of dyeing silk thread through exhaustion dyeing process

โดย: ภัทรานิฎชณ์ พิมพ์ประพร

ปี: 2558

บทคัดย่อ (ABSTRACT)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสารช่วยติดสีต่อเฉดสีของสีย้อมธรรมชาติที่สกัดจากใบหมี่ (Litsea glutinosa (Lour)) บนเส้นใยไหมย้อมด้วยกระบวนการย้อมแบบ ดูดซึม จากการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านพบว่า ต้นหมี่ เป็นพืชท้องถิ่นภาคอีสาน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ นอกจากนำมาผลิตเป็นยาสระผม

ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดที่จะนำใบหมี่มาทดลองศึกษาการย้อมบนเส้นไหม และต้องการให้เกิดเฉดสีที่หลากหลายมากขึ้น จึงต้องการทดลองใช้สารช่วยติดสี (Mordant) 10 ชนิด และย้อมในสภาวะการใช้สารช่วยติดสีก่อน พร้อมและหลังกระบวนการย้อมสี (Pre, Meta, Post-Mordant) เพื่อศึกษาการติดสีจากสารช่วยติดสีแต่ละชนิดนั้นๆ และทดสอบความคงทนของสีต่อแสงซีนอนอาร์ก ความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อเหงื่อ และความคงทนของสีต่อการขัดถู

จากการศึกษาพบว่า น้ำย้อมสีจากใบหมี่มีสภาวะเป็นกรดอ่อน (pH 6.09) มีลักษณะเป็นของเหลวหนืดเล็กน้อย มีสีน้ำตาล การใช้สารช่วยติดสีก่อนการย้อมสีเหมาะสำหรับโปรตีนจากถั่วเหลือง (น้ำ เต้าหู้) ที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 การใช้สารช่วยติดสีพร้อมการย้อมสี เหมาะสำหรับจุนสี เกลือ ใบสะเดา ใบฝรั่ง และใบยูคาลิปตัส ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 20 50 50 และ 50 ตามลำดับ การใช้สารช่วยติดสีหลังการย้อมสีเหมาะสำหรับมะขามเปี ยก น้ำปูนใส กรดอะซิติก และสารส้ม ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 10 50 และ 50 ตามลำดับ เมื่อย้อมสีเส้นใยไหมด้วยน้ำสกัดจากใบหมี่ และการใช้สารช่วยติดสีทั้ง 3 สภาวะ พบว่าเฉดสีที่ได้รับ คือสีเหลือง สีน้ำตาลอ่อน-เข้ม และสีแดง เส้นใยไหมที่ย้อมสีใบหมี่ ส่วนใหญ่มีความคงทนต่อแสงในระดับดี-ดีที่สุด (ระดับ 4-5) ความคงทนต่อการซักในระดับดี-ดีที่สุด (ระดับ 4-5) ความคงทนต่อเหงื่อ (กรด) อยู่ในระดับดี-ดีที่สุด (ระดับ 4-5) เหงื่อ (ด่าง)อยู่ในระดับดี (ระดับ 4) และความคงทนต่อการขัดถูอยู่ในระดับดี (ระดับ 4)

This research aimed to study the effects of various mordants added to the dye extracted from Litsea glutinosa (Lour) leaves on yielding different color shades in dyeing silk thread through the exhaustion dyeing process. Litsea glutinosa (Lour) trees are indigenous plants generally found in the Northeast of Thailand and only used for making hair shampoo.

The researcher’s purpose was to dye silk thread by using the extract from this plant leaves in order to obtain various color shades. Hence, ten mordants were added to the plant extract. Then silk thread was dyed through three different methods, i.e. Pre-, Meta- and Post-mordanting. Meanwhile, the changing of color shades of each mordant was recorded. Its color fastness to light, washing, perspiration (acidic and alkali conditions) and abrasion resistance were also observed.

It was found that the dye solution made from the plant extract was of a mild acidic condition with slight viscosity and brown in color. For the Pre-mordanting method, the use of concentrations of 50% soy protein mordant was a suitable mix whereas those of 10% copper (II) sulphate, 20% sodium sulphate, 50% neem-leaf, 50% guava-leaf and 50% eucalyptus-leaf mordants were an appropriate mixture for the Meta-mordant method. The proper proportions for the Postmordant method were those of 10% tamarind, 10% calcium hydroxide, 50% acetic acid and 50% alum mordants. Accordingly, the color shades drawn from the three methods were yellow, lightdark brown and red. Moreover, most of the dyed silk thread possessed the high to highest level (4-5 out of 5) of color fastness to light, washing, and acidic perspiration while its fastness to alkaline perspiration and abrasion resistance was at a high level (4 out of 5).

Download: การศึกษาอิทธิพลของสารช่วยติดสีต่อเฉดสีของสีย้อมธรรมชาติสกัดจากใบหมี่บนเส้นใยไหมย้อมด้วยกระบวนการย้อมแบบดูดซึม